Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2524
Title: | RESPONSES OF FINE ROOT DYNAMIC AND CANOPY COLOR INDEXIN IN SECONDARY DRY DIPTEROCARP FOREST, RATCHABURI PROVINCE การตอบสนองของพลวัตรากฝอยและดัชนีสีทรงพุ่มในป่าเต็งรังทุติยภูมิ จังหวัดราชบุรี |
Authors: | MUTCHIMA KUMKEAW มัชฌิมา คำแก้ว Phongthep Hanpattanakit พงษ์เทพ หาญพัฒนากิจ Srinakharinwirot University Phongthep Hanpattanakit พงษ์เทพ หาญพัฒนากิจ phongthep@swu.ac.th phongthep@swu.ac.th |
Keywords: | ชีพลักษณ์ ดัชนีพืชพรรณ พลวัตรากฝอย กล้องโทรศัพท์มือถือ Phenology Digital Phone Camera Green Excess Index Fine Root Dynamic |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Global climate change affects the growth and physiological processes of trees because trees need to adapt to survive under unsuitable conditions. For this reason, studying the adaptation of dry dipterocarp forest (DDF) to the effects of climate change is important in order to explain forest ecosystem responses. The purpose of this research was to study the changes in green excess index (GEI) and fine root dynamics in response to forest seasonal changes and to study the relationship of environmental factors affecting the control of tree responses in the secondary DDF in Ratchaburi Province. The method used was collecting capillary root samples from the soil core and the root length was analyzed using the Image J program. The data from the photographs of the forest canopy were collected using a mobile phone camera on the tower at a height of 10 m and analyzed using the Image J program. The study found that the length of the life root was the highest in October 2021 to 306.05 m m-2 and the lowest in September 2021 to 56.30 m m-2 and the length of the life of a root was highest in March 2022 at 362.64 m m-2 and lowest in May 2022 was 172.47 m m-2 by length. The values of life and alife of fine roots were higher in the dry season than the rainy season. By analyzing the relationship between the length of all roots and the air and soil temperature was significantly positive (p < 0.05). Moreover, the mean GEI was 31.24±14.49 while the highest was 81.61 in April 2021 and the lowest was -6.18. In February 2020, it was related to air temperature and significantly negative soil temperature (p < 0.05). The trees responded to climate change, especially during the dry season with high average temperatures and low soil moisture. It affects the fine root, stretching and spreading for water and food, as well as the defoliation of the tree. For this reason, fine root responses and vegetation indices are important adaptive response patterns for trees in dry dipterocarp forests when the climate changes in each season or if there is future climate change. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและกระบวนการสรีรวิทยาของต้นไม้เนื่องจากต้นไม้จำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อมีชีวิตรอดภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ด้วยเหตุนี้ การศึกษาการปรับตัวของระบบนิเวศป่าเต็งรังที่เกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญในการอธิบายการตอบสนองของระบบนิเวศป่าไม้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีพืชพรรณและพลวัตของรากฝอยที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของป่าไม้และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการควบคุมการตอบสนองของต้นไม้ในระบบนิเวศป่าเต็งรังทุติยภูมิ จังหวัดราชบุรี โดยการเก็บตัวอย่างรากฝอยด้วยเทคนิค soil core และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Image J ขณะที่ภาพถ่ายชั้นเรือนยอดเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรศัพท์เคลื่อนที่บนหอคอยวัดก๊าซที่ระดับความสูง 10 เมตรและวิเคราะห์ด้วยด้วยโปรแกรม Image J ผลการศึกษาพบว่า ความยาวของรากฝอยที่มีชีวิต (life root) มีค่าสูงสุดช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 เท่ากับ 306.05 m m-2 และต่ำสุดเดือนกันยายน พ.ศ.2564 เท่ากับ 56.30 m m-2 และความยาวของรากฝอยที่ไม่มีชีวิต (alife root) มีค่าสูงสุดช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2565 เท่ากับ 362.64 m m-2 และต่ำสุดช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 เท่ากับ 172.47 m m-2 โดยความยาวรากฝอยมีชีวิตและไม่มีชีวิตในฤดูแล้งมีค่าสูงกว่าฤดูฝน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของรากฝอยที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิดินอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในขณะที่ดัชนีพืชพรรณมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 31.24±14.49 .โดยมีค่าสูงสุด เท่ากับ 81.61 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 และมีค่าต่ำสุด เท่ากับ -6.18 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 โดยมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิดินอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ทั้งนี้ ต้นไม้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงและมีความชื้นในดินต่ำ ส่งผลให้รากฝอยมีการยืดและแผ่ขยายเพื่อหาน้ำและอาหารตลอดจนการผลัดใบของต้นไม้เพื่อลดการคายน้ำของต้นไม้ในป่าเต็งรัง ด้วยเหตุนี้ การตอบสนองของรากฝอยและดัชนีพืชพรรณเป็นรูปแบบการตอบสนองของการปรับตัวที่สำคัญของต้นไม้ในป่าเต็งรัง เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูกาลหรือหากมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2524 |
Appears in Collections: | Faculty of Environmental Culture and Ecotourism |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621130418.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.