Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2488
Title: NEW PARADIGM IN THE INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OFTHE ART EDUCATION PROGRAM OF HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS
กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
Authors: ITTAPORN NIYOMVONG
อิษฏาภรณ์ นิยมวงศ์
Chatupol Yongsorn
จตุพล ยงศร
Srinakharinwirot University
Chatupol Yongsorn
จตุพล ยงศร
chatupol@swu.ac.th
chatupol@swu.ac.th
Keywords: กระบวนทัศน์ใหม่
ศิลปศึกษา
EDFR
กระบวนการเรียนการสอน
สถาบันอุดมศึกษา
New paradigms
Art education
EDFR
Instructional management
Higher education
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research was divided into three phases, based on the aims of the research: (1) to study a new paradigm in the instructional management of the art education program of higher education institutions. The future research technique was Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR), which was conducted by interviewing 17people and had content validity from experts and same informants confirmed their answers with a five-point estimation scale questionnaire. The data were analyzed by a median of 3.51 and higher and an interquartile range of not more than 1.5; (2) to develop guidelines for the instructional management of the art education program of higher education institutions by focus group discussions with seven experts. The results of the research resulted in a total of 48 approaches; and (3) to assess the appropriateness and feasibility of the approach for the instructional management of the art education program of higher education institutions by using a questionnaire with 21 full-time faculty members in the art education program from autonomous higher education and analyzed by finding the mean score standard deviation and a t-test. The results showed that the guidelines for the instructional management of the art education program of higher education institutions were appropriate and feasible at a high level. When considering each aspect, it was found that most of them were appropriate and possible at a high level, which was higher than the specified criteria (3.51) and significantly higher than the determined criteria of .05. There are interesting new paradigms that can be classified by aspect, as follows: (1) curriculum focuses on enabling learners to manage learning both inside and outside the formal system, diverse and consistent with the local and community context; (2) in terms of teachers, there was a joint learning design between instructors and students in order to find new artistic experiences; (3) the teaching and learning process: learning management using a project as a base (Project-Based Learning), using STEAM Education on the use of tools for managing online art learning;  (4) in terms of recruiting students, students should focus on their abilities and art experience, such as experience in organizing or participating in art exhibitions, trading works of art in the form of NFTs (Non-Fungible Tokens), etc.; (5) measurement and evaluation taking into account individual differences and student development; and (6) supporting factors that give importance to information technology and virtual tools in the preparation of learning materials.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 17 ท่าน ด้วยแบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และให้ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.5  2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางรวม 48 แนวทาง และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้แบบสอบถามกับอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 21 คน และวิเคราะห์โดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากเช่นกัน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (3.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่น่าสนใจจำแนกเป็นรายด้านได้ ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ มีความหลากหลาย สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน 2) ด้านอาจารย์ มีการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเพื่อหาประสบการณ์ทางศิลปะใหม่ ๆ 3) ด้านกระบวนการเรียนการสอน จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project Base Learning) นำ STEAM Education มาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะแบบออนไลน์ 4) ด้านนิสิต/นักศึกษา ในการคัดเลือกรับนิสิต/นักศึกษาควรให้ความสำคัญกับความสามารถและประสบการณ์ทางศิลปะ เช่น ประสบการณ์ในการจัดหรือเข้าร่วมการแสดงผลงานทางศิลปะ การซื้อขายผลงานศิลปะในระบบ NFT (Non-Fungible Token) เป็นต้น 5) ด้านการวัดประเมินผล คำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะบุคคล และพัฒนาการของผู้เรียน และ 6) ด้านปัจจัยเกื้อหนุน ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือเสมือนในการจัดทำสื่อการเรียนรู้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2488
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601150022.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.