Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2469
Title: | THE TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AND MOTIVATION RELATEDTO WORKING EFFICIENCY AND EMPLOYEES JOB SATISFACTIONOF PRIVATE COMPANIES IN BANGKOK ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร |
Authors: | THAMASORN NINSAI ธรรมสรณ์ นิลไทร Wasan Sakulkijkarn วสันต์ สกุลกิจกาญจน์ Srinakharinwirot University Wasan Sakulkijkarn วสันต์ สกุลกิจกาญจน์ wasan@swu.ac.th wasan@swu.ac.th |
Keywords: | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการทำงาน, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน Transformational leadership Motivation Working Efficiency Employees Job Satisfaction |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research is to study the transformational leadership and motivation related to working efficiency and employees job satisfaction of private companies in Bangkok. A total of 400 usable questionnaires were used for statistical analysis. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, independent t-test, one-way analysis of variance and Pearson correlation coefficient. The results of this research are as follows: (1) The majority of employees were female, aged 25 – 35 years, held a bachelor’s degree, with single status, earned average monthly income between 15,001 - 30,000 Baht and had 6 – 10 years of work experience. Most employees had transformational leadership, motivation, working efficiency and employees’ job satisfaction at the highest -level. (2) The employees with different gender, age, status, education, and average monthly income had not different working efficiency and employees job satisfaction with a significance of 0.05. (3) The transformational leadership is Idealized Influence, inspiration motivation, intellectual stimulation and individualized consideration positively correlated with working efficiency into quality of work, quantity of work and cost with a statistical significance of 0.01 at lower-level but timing has positively correlated at low-level. (4) The transformational leadership is Idealized Influence, Inspiration Motivation, Intellectual Stimulation, and Individualized Consideration has not correlated employees job satisfaction with promotion side, colleague and working environment. (5) Motivation is existence needs, relatedness needs and growth needs with existence needs and relatedness needs has positively correlated with working efficiency into quality of work, quantity of work and cost with a statistical significance of 0.05 and 0.01 at lower-level but existence needs has not correlated work efficiency with quality of work, quantity of work, time and cost. (6) Motivation is existence needs, relatedness needs and growth needs with existence needs has positively correlated employees job satisfaction into reward with a statistical significance of 0.05 and 0.01 at lower-level (7) Work efficiency quality of work, quantity of work, time, and cost with quality of work , quantity of work and cost has positively correlated employees job satisfaction into reward promotion side, colleague and working environment with a statistical significance of 0.05 and 0.01 at lower level but cost has not correlated employees job satisfaction in all aspects. การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 30,000 บาท มีระยะเวลาในการทำงาน 6 – 10 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยน แรงจูงใจ ประสิทธิภาพในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด 2.พนักงานที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ, ด้านการกระตุ้นทางปัญญาและด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการทำงานในด้านคุณภาพของงาน, ด้านปริมาณงานและด้านค่าใช้จ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมากแต่ในด้านเวลามีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการทำงานทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ 4.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ, ด้านการกระตุ้นทางปัญญาและด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในด้านการเลื่อนตำแหน่ง, ด้านเพื่อนร่วมงาน, ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน 5.แรงจูงใจ ได้แก่ ด้านความต้องการเพื่อดำรงชีวิต, ด้านความต้องการความสัมพันธ์, ด้านความต้องการความเจริญก้าวหน้า โดยมีด้านความต้องการเพื่อดำรงชีวิตและด้านความต้องการความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานในด้านคุณภาพของงาน, ด้านปริมาณงาน, ด้านเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมาก แต่ด้านความต้องการความเจริญก้าวหน้า ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานในด้านคุณภาพของงาน, ด้านปริมาณงาน, ด้านเวลาและด้านค่าใช้จ่าย 6.แรงจูงใจ ได้แก่ ด้านความต้องการเพื่อดำรงชีวิต, ด้านความต้องการความสัมพันธ์, ด้านความต้องการความเจริญก้าวหน้า โดยมีด้านความต้องการเพื่อดำรงชีวิตความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในด้านผลตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมาก 7. ประสิทธิภาพในการทำงาน ได้แก่ ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย โดยมีด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน ด้านเวลา มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านผลตอบแทน, ด้านการเลื่อนตำแหน่ง, ด้านเพื่อนร่วมงานและด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมากแต่มีด้านค่าใช้จ่ายไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในทุกด้าน |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2469 |
Appears in Collections: | Faculty of Business administration for society |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641130255.pdf | 6.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.