Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2374
Title: DEVELOPMENT OF PERFECTIONISM SCALE AND INTEGRATIVE GROUP COUNSELING PROGRAM TO PROMOTE SELF-COMPASSION  AND PSYCHOLOGICAL WELL-BEING IN KAMNOETVIDYA SCIENCE ACADEMY AND MAHIDOL WITTAYANUSORN SCHOOL’S CONTEXT: MIXED METHODS DESIGN
การพัฒนาแบบวัดลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบและโปรแกรมการปรึกษากลุ่ม ทางจิตวิทยาแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความเมตตากรุณาต่อตนเองและสุขภาวะทางจิต ในบริบทโรงเรียนกำเนิดวิทย์และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์: การวิจัยผสานวิธี
Authors: SANTIPAP NANTHASARN
สันติภาพ นันทะสาร
Dusadee Intraprasert
ดุษฎี อินทรประเสริฐ
Srinakharinwirot University
Dusadee Intraprasert
ดุษฎี อินทรประเสริฐ
dusadee@swu.ac.th
dusadee@swu.ac.th
Keywords: นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียน
ลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบ
แบบวัดลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบ
ความเมตตากรุณาต่อตนเอง
สุขภาวะทางจิต
Academically gifted students
Perfectionism
The Almost Perfect Scale-Revised
Self-compassion
Psychological well-being
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This mixed methods research had three objectives; (1) to develop an Almost Perfect Scale-Revised (APS-R) cross-culturally into Thai and to evaluate academically gifted students from Mahidol Wittayanusorn school and Kamnoetvidya Science Academy; (2) investigated and established the norm of perfectionism among academically gifted students; (3) assessed the experience of the participants, the outcomes and effectiveness of the integrative group counseling program on Self-Compassion and Psychological Well-Being among maladaptive perfectionistic academically gifted students in Kamnoetvidya Science Academy. After ethical approval, the research was conducted from May-October 2022. The first objective was back translation APS-R into Thai and administered to 521 academically gifted students. The results showed the APS-R Thai version had good psychometric properties: Internal consistency (α = .72 -.91), Convergent (AVE = .35 - .48), and Discriminant validity (MSV = .15 - .28). Confirmatory Factor Analysis revealed that the model fit the empirical data (χ2= 376.7, df = 163, Relative χ2= 2.31, RMSEA = 0.05, CFI =0.99, GFI = 0.94, AGFI=0.90) and the 3-factors model of perfectionism: High standard (α = .77), Order (α = .72), and Discrepancy (α = .91). The second objective described the APS-R scores from 521 students: 37% of the sample were non-perfectionists, 26.9% were adaptive perfectionists, and 36.1% were maladaptive perfectionists. There were 30 academically gifted students with maladaptive perfectionism from Kamnoetvidya Science Academy selected and sent to the experimental and control groups of 15 members each. The data analysis revealed Repeated One-Way Analysis of Variance, and One-way MANOVA were used. The reflection notes of the participants and in-depth interviews were analyzed. The repeated ANOVA results showed that the experimental group, in terms of Self-Compassion and Psychological Well-Being, had increased statistical significance with Cohen's d effect size, with 0.97-1.32 for Self-Compassion, and 0.74-0.88 for Psychological Well-Being. The MANOVA results showed the experimental group was superior, with Cohen's d at 0.82-1.43 for Self-Compassion, and 0.67-0.86 for Psychological Well-Being. (1) they benefitted from the group process; (2) were aware of mental processing; and (3) embraced imperfection. After the experiment, the program was as follows: (1) awareness and embracing of common humanity, (2) improvement of interpersonal relationships; (3) increased self-management; and (4) open to the new experiences without fear. The findings indicated that an integrated group counseling program was an appropriate intervention to increase Self-Compassion and Psychological Well-Being among academically gifted students with maladaptive perfectionism.
การวิจัยผสานวิธีนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบฉบับปรับปรุงสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ 2) สำรวจและสร้างคะแนนมาตรฐานของลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ 3) ประเมินโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทางจิตวิทยาแบบบูรณาการในด้านประสิทธิผลในการพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองและสุขภาวะทางจิต ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลง และผลที่ตามมาหลังจากช่วงการทดลองของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนที่มีลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบอย่างไม่เหมาะสม ดำเนินการวิจัยช่วงพฤษภาคม - ตุลาคม 2565 วิธีการของวัตถุประสงค์ที่ 1 คือแปลและปรับแบบวัดลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบ (APS-R) เป็นฉบับภาษาไทยและศึกษาในนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนกำเนิดวิทย์จำนวน 521 คน ผลพบว่าแบบวัด APS-R ฉบับภาษาไทยมีความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายใน (α = .72 -.91), ความเที่ยงตรงเชิงเอกนัย (AVE = .35 - .48) ความเที่ยงตรงเชิงจำแนก (MSV = .15 - .28) และโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 376.7, df = 163, Relative χ2= 2.31, RMSEA = 0.05, CFI =0.99, GFI = 0.94, AGFI=0.90) ที่ผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ พบองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) การมีมาตรฐานที่สูง (α = .77) 2) การมีระเบียบแบบแผน (α = .72) และ 3) การรับรู้ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานกับผลจากการกระทำของตน (α = .91) ดังนั้นแบบวัด APS-R ฉบับภาษาไทย สามารถนำไปใช้ประเมินลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนได้ วิธีการของวัตถุประสงค์ที่ 2 ที่ศึกษาในนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนกำเนิดวิทย์จำนวน 521 คน ผลพบว่าร้อยละ 37 ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบ ร้อยละ 26.9 มีลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบอย่างเหมาะสม และร้อยละ 36.1 มีลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบอย่างไม่เหมาะสมเมื่อวัดด้วยเกณฑ์ของแบบวัดต้นฉบับ วิธีการของวัตถุประสงค์ที่ 3 เป็นการพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองและสุขภาวะทางจิตในนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการเรียนที่มีลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบอย่างไม่เหมาะสมจำนวน 30 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน โดยใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มที่สร้างขึ้นจากทฤษฏีการบำบัดแบบมุ่งเน้นการยอมรับและพันธสัญญาและกิจกรรมตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกจำนวน 8 กิจกรรม คือ 1) ต่างใจเดียว 2) เขาว่า... มันหลอกกันไม่ได้ 3) เลือกได้ไหม 4) โอ้ใจเอ๋ย 5) ใจเกเร 6) ช่วงที่ดีที่สุด7) ฉันดีใจที่มี... และ 8) โปรด(ดูแลฉันด้วยใจที่อ่อนโยน) ผลการวิเคราะห์แบบวัดซ้ำพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความเมตตากรุณาต่อตนเองและสุขภาวะทางจิตสูงขึ้นในระยะหลังการทดลองและติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า Cohen’s d ที่ 0.97 – 1.32 ในความเมตตากรุณาต่อตนเองและ 0.74 – 0.88 ในสุขภาวะทางจิต นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์หลังการทดลองและติดตามผลพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความเมตตากรุณาต่อตนเองและสุขภาวะทางจิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่า Cohen’s d ที่ 0.82 – 1.43 ในความเมตตากรุณาต่อตนเองและ 0.67 – 0.86 ในสุขภาวะทางจิต โดยข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกการเรียนรู้และการสัมภาษณ์เชิงลึกสนับสนุนผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่ากลุ่มทดลอง 1) ได้ประโยชน์จากกระบวนการกลุ่ม 2) เกิดการรู้ทันใจตนเอง และ 3) เมตตาตนเองเป็น และพบผลที่เกิดขึ้นว่ากลุ่มทดลอง1) รู้จักและรู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น 2) มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นที่ดีขึ้น 3) จัดการตนเองได้ดีขึ้น และ 4) เปิดรับและเข้าหาประสบการณ์มากขึ้น ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการคัดเลือกและช่วยเหลือให้ผู้ที่มีลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบอย่างไม่เหมาะสม ให้มีความเมตตาต่อตนเองและมีสุขภาวะทางจิตที่ดี
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2374
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150042.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.