Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2358
Title: FACTORS INFLUENCING ORAL IMPLANTS SURVIVAL AND SUCCESS
ปัจจัยที่มีผลต่อความคงอยู่และความสำเร็จของการฝังรากเทียม
Authors: CHAYAPHORN ITTHIPORNKUL
ชยาภรณ์ อิทธิพรกุล
Chanchai Wongchuensoontorn
ชาญชาย วงศ์ชื่นสุนทร
Srinakharinwirot University
Chanchai Wongchuensoontorn
ชาญชาย วงศ์ชื่นสุนทร
chanchai@swu.ac.th
chanchai@swu.ac.th
Keywords: รากฟันเทียม
เหงือกเคราติน
ไบโอไทป์ของเหงือก
ความลึกในการฝังรากฟันเทียม
ความสำเร็จของรากฟันเทียม
Implant
Keratinized gingiva
Gingival biotype
Level of implant placement
Implant success
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The success of dental implant treatment is indicated by marginal bone loss (MBL), and signs and symptoms in the implant site area. Therefore, the key to successful dental implants is maintaining the bone level and reducing MBL around the implant. Studies have investigated factors that may contribute to MBL surrounding dental implants. However, there is conflicting evidence on the width of keratinized gingiva, gingival biotype, level of implant placement on MBL and dental implant health. The association involving MBL and implant success, this study aimed to investigate the effects of keratinized gingiva, gingival biotype, and level of implant placement. There were 173 dental implants at the Faculty of Dentistry at Srinakharinwirot University between 2015-2021 and were included in the population of the study. The level of bone-to-implant contacts from periapical radiographs to assess the depth of implant placement. The data on the gingival biotype, the width of the keratinized gingiva, and clinical signs and symptoms were gathered during oral examination and chart review. The success of implants was assessed with the ICOI 2007 Health Scale. Multiple comparison tests using Bonferroni statistics and Repeated Measures of ANOVA statistics analyzed the differences between variables. The Chi-square statistic was used for analyzing the association between each variable. The outcomes demonstrate that at six months and one year following implantation, average MBL at both mesial and distal aspects increased (p < 0.001). In addition, in the group with adequate keratinized gingival width, and the average MBL on the mesial side was significantly lower than inadequate keratinized gingival width (p = 0.023). There was a greater average MBL in the group with inadequate keratinized gingival width compared to the group with adequate keratinized gingival width, but was not statistically significant. The gingival biotype and implant depth were additional parameters. In comparison to implantation, the data demonstrated no statistically significant differences over a period of six months and one year. Regarding the success of dental implants, 163 implants out of a total of 173 implants (94.22%) achieved success, while 10 implants out of a total of 173 (5.78%) were found to be compromised. However, there is no correlation between the study variables and the ICOI Health Scale criteria. In conclusion, adequate keratinized gingival width influenced the MBL at the mesial aspect compared to inadequate keratinized gingiva. However, there was no correlation. There was no correlation between gingival biotype and implant depth on the level of MBL surrounding the implant and the ICOI Health Scale success level. 
การละลายตัวของกระดูก อาการและอาการแสดงในบริเวณรากฟันเทียมเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของการรักษาด้วยรากฟันเทียม ดังนั้นการรักษาคงไว้ซึ่งระดับกระดูกจึงเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จของรากฟันเทียม แต่ทว่าความสัมพันธ์ของปัจจัย ได้แก่ ความกว้างของเหงือกที่มีเคราติน ไบโอไทป์ของเหงือก และระดับความลึกในการฝังรากฟันเทียม ต่อการละลายของกระดูกและสุขภาพของรากฟันเทียมยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความกว้างเหงือกที่มีเคราติน ไบโอไทป์ของเหงือก และระดับความลึกในการฝังรากฟันเทียม ต่อการละลายของกระดูกและความสำเร็จของรากฟันเทียม ทั้งนี้กลุ่มประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยรากฟันเทียมจำนวน 173 ตัว ที่ทำการฝังที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 - 2564 ทำการเก็บรวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียน การตรวจผู้ป่วยทางคลินิก และวัดระยะระดับกระดูกจากภาพถ่ายรังสีรอบปลายราก ณ วันที่ทำการฝังรากฟันเทียม วันที่มาติดตามอาการหลังฝังรากฟันเทียม 6 เดือนและ 1 ปี นำข้อมูลประเมินตามเกณฑ์ความสำเร็จ Health Scale ICOI (ค.ศ. 2007) วิเคราะห์ความแตกต่างการละลายของกระดูกด้านใกล้กลางและด้านไกลกลางบริเวณรากฟันเทียม 3 ช่วงเวลา ต่อความกว้างของเหงือกที่มีเคราติน ได้แก่ มีความกว้างเหงือกเคราตินเพียงพอและมีความกว้างเหงือกเคราตินไม่เพียงพอ, ไบโอไทป์ของเหงือก ได้แก่ ไบโอไทป์เหงือกบางและไบโอไทป์เหงือกหนา และระดับความลึกในการฝังรากฟันเทียม ได้แก่ ฝังรากฟันเทียมพอดีระดับสันกระดูกเบ้าฟันและฝังรากฟันเทียมต่ำกว่าสันกระดูกเบ้าฟัน ด้วยสถิติ Repeated measures ANOVA และทดสอบรายคู่ด้วยสถิติ Bonferroni ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์ต่อเกณฑ์ความสำเร็จของรากฟันเทียม (Health Scale) ทำการทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) จากผลการศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ยการละลายของกระดูกทั้งในด้านใกล้กลาง และด้านไกลกลาง เพิ่มมากขึ้นที่ระยะเวลา 6 เดือน และ 1 ปี เมื่อเทียบกับวันที่ทำการฝังรากฟันเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.023) ในกลุ่มรากฟันเทียมที่มีความกว้างของเหงือกเคราตินเพียงพอมีค่าเฉลี่ยการละลายของกระดูกด้านใกล้กลางน้อยกว่ากลุ่มที่มีความกว้างของเหงือกเคราตินไม่เพียงพออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการละลายของกระดูกในด้านไกลกลาง ถึงแม้กลุ่มที่มีความกว้างของเหงือกเคราตินเพียงพอมีค่าเฉลี่ยการละลายของกระดูกน้อยกว่ากลุ่มที่มีความกว้างเหงือกเคราตินไม่เพียงพอ แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ศึกษาอื่น ๆ ได้แก่ ไบโอไทป์ของเหงือก ระหว่างกลุ่มไบโอไทป์เหงือกหนาและไบโอไทป์เหงือกบาง และระดับความลึกในการฝังรากฟันเทียม ระหว่างกลุ่มฝังต่ำกว่าระดับสันกระดูกเบ้าฟันและฝังพอดีระดับสันกระดูกเบ้าฟัน พบว่าการละลายของกระดูกทั้งในด้านใกล้กลาง และด้านไกลกลาง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในช่วงเวลา 6 เดือน และ 1 ปี เมื่อเทียบกับวันที่ทำการฝังรากฟันเทียม ส่วนความสำเร็จของรากฟันเทียมตามเกณฑ์ Health scale ICOI พบรากฟันเทียม 163 ตัว จาก 173 ตัว (94.22%) อยู่ระดับประสบความสำเร็จ และพบรากฟันเทียมจำนวน 10 ตัวจาก 173 ตัว (5.78%) อยู่ระดับบกพร่อง เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ต่อระดับ Health scale พบว่าความกว้างของเหงือกเคราติน ไบโอไทป์ของเหงือก และระดับความลึกของการฝังของรากฟันเทียม มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าความกว้างของเหงือกเคราตินที่ไม่เพียงพอส่งผลต่อการละลายตัวของกระดูกด้านใกล้กลางของรากฟันเทียมมากกว่าการมีความกว้างเหงือกเคราตินเพียงพอ แต่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อเกณฑ์ความสำเร็จของรากฟันเทียมตาม Health Scale ICOI อีกทั้งไม่พบความสัมพันธ์ของไบโอไทป์ของเหงือก และระดับความลึกของการฝังรากฟันเทียม ต่อการละลายตัวของกระดูกรอบรากฟันเทียมและระดับความสำเร็จของรากฟันเทียมตาม Health Scale ICOI ด้วยเช่นกัน
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2358
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110101.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.