Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2347
Title: A COMPARISON OF BODY EFFICIENCY BETWEEN THE NORMALAND HALLIWICK METHODS OF THE ZUMBA FITNESS PROGRAMIN THE YOUNG-OLD
การเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้น ด้วยกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้า (Zumba Fitness) แบบปกติและเเบบฮัลลิวิค (Halliwick Method)
Authors: THITIMON DANGSEAM
ฐิติมน เเดงเสม
Dharakorn Chandnasaro
ธรากร จันทนะสาโร
Srinakharinwirot University
Dharakorn Chandnasaro
ธรากร จันทนะสาโร
dharakorn@swu.ac.th
dharakorn@swu.ac.th
Keywords: สมรรถภาพทางกาย
โปรแกรมซุมบ้า
เทคนิคฮัลลิวิค
ผู้สูงอายุช่วงต้น
PHYSICAL FITNESS
ZUMBA FITNESS
HALLIWICK METHOD
ELDER
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research article aims to develop normal and Halliwick Zumba fitness programs for enhancing physical fitness among the elderly, and to compare the results in enhancing the physical fitness of the young and the old by using the normal and Halliwick Zumba fitness programs. The sample group of this research was the young and the old obtained from purposive sampling among volunteers who passed the elderly health evaluation questionnaire for those between 60-69 years of age. A total of 30 people were selected using the simple random sampling method and divided into two groups: the test group of 15 young and old subjects, whose physical fitness was compared before and after attending the Halliwick Zumba fitness program, and the control group of young and old subjects, whose physical fitness was compared before and after attending a normal Zumba fitness program. The activity was conducted twice a week for five weeks, for 30-45 minutes each time, a total of 10 times. The results of the research were as follows: after conducting the Zumba fitness programs for the sample group, it was found that the average physical fitness test score for the group following the Halliwick Zumba fitness program was higher, with a statistical significance of 0.05; whereas, for the control group following the normal Zumba fitness program, there was no statistically significant difference.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1.พัฒนาชุดกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติและแบบฮัลลิวิคสำหรับใช้เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุ 2.เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในผู้สูงอายุช่วงต้น โดยใช้ชุดกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติและแบบฮัลลิวิค โดยรูปแบบงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุช่วงต้น ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการเลือกจากอาสาสมัครที่ผ่านการทำแบบทดสอบถามการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปีจำนวน 30 คน ที่ผ่านเกณฑ์ และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) เพื่อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง เข้ารับการเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้นด้วยกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบฮัลลิวิค จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม เข้ารับการเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้น ด้วยกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติจำนวน 15 คน เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์สัปดาห์ละ 2 ครั้งครั้งละ 30-45 นาทีรวม 10 ครั้ง โดยใช้ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลของทั้ง 2 กลุ่ม รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.สามารถพัฒนาชุดกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติและแบบฮัลลิวิค โดยใช้เทคนิคท่าเต้นทางด้านนาฏศิลป์สากล (Jazz Dance) เข้ามาผสมผสานกับโปรแกรมซุมบ้า สำหรับใช้เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้น 2.การจัดกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้า กลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังจากการทดลองใช้กิจกรรมการเต้น โปรแกรมซุมบ้า(Zumba Fitness)แบบปกติและเเบบฮัลลิวิค (Halliwick Method)ของกลุ่มที่เต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบฮัลลิวิคในการวิจัยสูงขึ้น แสดงนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้า (Zumba Fitness)แบบปกตินั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2347
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130430.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.