Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2323
Title: A COMPARATIVE STUDY ON THE EFFECT OF ALCOHOL-BASED HANDSANITIZERS IN SPRAY AND GEL FORMULATION ON THE SKIN OF THE HANDS
การศึกษาเปรียบเทียบผลต่อผิวหนังบริเวณมือจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในรูปแบบสเปรย์และเจล
Authors: CHANANYA SUWANCHAI
จณัญญา สุวรรณฉาย
Montri Udompataikul
มนตรี อุดมเพทายกุล
Srinakharinwirot University
Montri Udompataikul
มนตรี อุดมเพทายกุล
montri@swu.ac.th
montri@swu.ac.th
Keywords: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบรูปแบบเจล
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบรูปแบบสเปรย์
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ
ความระคายเคืองต่อผิวหนัง
alcohol-based hand rub
alcohol gel
alcohol spray
hand sanitizer
skin irritation
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Background: Alcohol-based hand rubs (ABHRs) have long been used in healthcare facilities to prevent hospital-acquired infections. Since the beginning of the COVID-19 outbreak, ABHRs have been the center of the interest in protecting the transmission of the SARS-CoV-2 virus. Many formulations of ABHRs, such as liquid, gel and spray have been developed and used in general population. The aim of this study was to compare the skin irritation from using ABHRs in gel and spray formulation. Method: This was a prospective, randomized, crossover trial and conducted to investigate the effect of skin irritation of ABHRs in gel compared to spray formulation after 21 days of each formulation. There were 38 participants enrolled and the outcomes were assessed by two clinical scores; subjective Larson’s skin assessment score, Frosch and Kligman observer skin assessment score; transepidermal water loss (TEWL) and skin capacitance. Results: All of the volunteers completed the study. There was no significant skin irritation (total score less than or equal to 16) from Subjective Larson’s skin assessment from both formulations of ABHRs. From Frosch and Kligman observer skin assessment, there were also no significant changes from both formulations of ABHRs. However, dryness was the most common clinical sign during the study, 36.8% and 42.11% of participants in the gel and the spray group reported dryness after three weeks of application. The incidence rate was not statistically significantly difference in both formulations. Comparably, TEWL was significantly increased from baseline since day 3 (p = 0.029) and day 21 (p = 0.019) in spray and gel formulation respectively. In contrast, the skin capacitance did not differ significantly after the application in both formulations. Conclusion: ABHRs in gel and spray formulations are safe after repeated application and do not cause significant skin irritation. However, ABHRs caused increased skin dryness which is more common in spray than gel preparation. In people with sensitive skin, ABHRs in gel formulation is recommended.
เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบถูกใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาลมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันหลังจากมีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ผู้คนจึงหันมาให้ความสนใจต่อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โดยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในท้องตลาดมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ของเหลว เจล และสเปรย์ งานวิจัยฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลต่อผิวหนังบริเวณมือจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในรูปแบบสเปรย์และเจล การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบไปข้างหน้าที่มีการเปรียบเทียบผลการศึกษาระหว่าง 2 กลุ่ม แบบไขว้ ที่ทำการศึกษาความระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณมือจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบรูปแบบเจลเปรียบเทียบกับรูปแบบสเปรย์หลังใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัยรวม 38 คน ซึ่งถูกประเมินด้วย Subjective Larson’s skin assessment score, Frosh and Kligman observer skin assessment score, transepidermal water loss (TEWL) และ skin capacitance อาสาสมัครทั้ง 38 คน ที่เข้าร่วมงานวิจัยมาติดตามจนครบกำหนด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ไม่พบการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณมือเมื่อประเมินด้วย Subjective Larson’s skin assessment score (ผลคะแนนรวมไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 คะแนน) จากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบทั้งสองรูปแบบ เมื่อประเมินด้วย Frosch and Kligman observer skin assessment ไม่พบความเปลี่ยนแปลงทางคลินิกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองรูปแบบเช่นกัน อย่างไรก็ตามอาการแสดงทางคลินิกที่พบได้มากที่สุดคือ ความแห้งของผิวหนัง โดยมีอุบัติการณ์สะสมอยู่ที่ 36.8% และ 42.11% จากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในรูปแบบเจล และสเปรย์ ครบ 3 สัปดาห์ตามลำดับ และพบว่าอัตราการเกิดอุบัติการณ์การระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณมือจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างรูปแบบเจล และรูปแบบสเปรย์ เมื่อประเมินด้วยค่า TEWL พบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่วันที่ 3 ของการติดตาม (p = 0.029) หลังใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบรูปแบบสเปรย์ และตั้งแต่วันที่ 21 ของการติดตาม (p = 0.019) หลังใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบรูปแบบเจล ในทางกลับกัน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผลิตภัณฑ์ทั้งสองรูปแบบเมื่อประเมินด้วย skin capacitance ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในรูปแบบเจล และสเปรย์มีความปลอดภัยในการใช้ทำความสะอาดมืออย่างต่อเนื่อง และไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองของผิวหนังบริเวณมือที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบสามารถเพิ่มความแห้งของผิวหนัง ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์รูปแบบสเปรย์มากกว่ารูปแบบเจล ในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบรูปแบบเจล
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2323
Appears in Collections:Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110024.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.