Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2294
Title: | EFFECTS OF LEARNING BASED ON REALISTIC MATHEMATICS EDUCATION TO MATHEMATICAL CONNECTION ABILITY AND ATTITUDE TOWARDS MATHEMATICS OF PRATHOMSUKSA FIVE STUDENTS ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Authors: | SIRAPRAPA SUNTRONNUN ศิรประภา สุนทรนันท์ Sunisa Sumirattana สุณิสา สุมิรัตนะ Srinakharinwirot University Sunisa Sumirattana สุณิสา สุมิรัตนะ sunisasu@swu.ac.th sunisasu@swu.ac.th |
Keywords: | แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ Realistic Mathematics Education (RME) Mathematical Connection Ability Attitudes toward Mathematics |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to compare the mathematical connection ability of students before and after learning; (2) to compare the mathematical connection ability of students after learning with a 70% criterion; and (3) to compare the attitudes of students toward mathematics before and after learning. The subjects of this study were 33 Grade Five students in the first semester of the 2022 academic year at Watboth School in Singburi. They were randomly selected using cluster random sampling.
The research instruments of this study are as follow: (1) Realistic Mathematics Education lesson plans; (2) the mathematical connection ability test; and (3) the attitude towards mathematics test. The experiment lasted for 14 fifty-minute periods. The tools use in this study include a t - test for Dependent Samples and a t - test for One Sample were employed in analyzing the data. The findings were as follows: (1) the mathematical connection ability of students in the experimental group after learning was statistically higher than before learning with a .05 level of significance; (2) the mathematical connection ability of students in the experimental group after learning was statistically higher than the 70% criterion with a .05 level of significance; and (3) attitudes toward mathematics among students in the experimental group after learning was statistically higher than before learning at the .05 level of significance. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโบสถ์ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองจำนวน 14 คาบ คาบละ 50 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t – test Dependent Samples และ t – test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับ การจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2294 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611130011.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.