Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2292
Title: | THE DEVELOPMENT OF A LEARNING CENTER MODEL BASED
ON THE CHANTA EDUCATION TO PROMOTE LIFE SKILLS IN THE DIGITAL ERA
OF THE PRIMARY SCHOOL GRADE 3 AT SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) |
Authors: | PILAIPORN WANGSAPTAWEE พิไลพร หวังทรัพย์ทวี Nutteerat Pheeraphan นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ Srinakharinwirot University Nutteerat Pheeraphan นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ nutteerat@swu.ac.th nutteerat@swu.ac.th |
Keywords: | ศูนย์การเรียนรู้ ฉันทศึกษา ทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล Learning Center Chanta Education Life Skill Digital Era |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to develop a learning center model based on Chanta Education to promote life skills in the digital era; (2) to develop a learning center based on Chanta Education to promote life skills in the digital era; (3) to evaluate the effectiveness of a learning center based on Chanta Education to promote life skills in the digital era among Grade Three students at Satit Prasarnmit Demonstration School (Elementary); and (4) to certify a learning center model based on Chanta Education. The population in this study included Grade Three students, with eight classrooms and 240 students. The sample was 60 Grade Three students. The two classes in the second semester in the 2022 academic year were selected by simple random sampling with the lottery method. Students used web applications to select their preferred learning center by organizing learning activities for three units: (1) to prepare online activities to train students in fundamental working abilities, information research, and self-reliance; (2) the play stage was on-site activities taught through play, enjoyed working with others, and produced works using digital technology; (3) a project stage with online activities that interests students and collaboration with others; (4) an on-site presentation stage created using digital technology. An observation on student behavior was used during the activities on life skills in the assessment form. After the activities, the teacher evaluated the students with rubric scoring. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The findings revealed: (1) a learning center model based on Chanta to promote life skills in the digital era had five components: learning management, e-learning, learning environment, interaction, evaluation and context; (2) a learning center model based on Chanta at the highest level; (3) the results of the developed learning center model were very high. A learning center model based on Chanta to promote life skills in the digital era was certified with the highest level of appropriateness and consistency. งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล 2) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล 3) ศึกษาผลการใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) 4) รับรองรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 240 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาฉันทศึกษา เฉพาะห้องที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาจากการเลือกสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก จำนวนนักเรียน 60 คน โดยให้นักเรียนศึกษาเลือกฐานการเรียนรู้ที่สนใจผ่านเว็บแอปพลิเคชัน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานการเรียนรู้ละ 3 หน่วย โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมพร้อม (Prepare) จัดกิจกรรมแบบออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้มีทักษะพื้นฐานในปฏิบัติงาน สืบค้นข้อมูลที่สนใจ เลือกปฏิบัติงานตามขั้นตอนได้ด้วยตนเอง 2) ขั้นเล่นกับการเรียนรู้ (Play with Learn) จัดกิจกรรมแบบออนไซต์ เพื่อเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างมีความสุข ทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ผลงาน 3) ขั้นจัดทำโครงงาน (Project) จัดกิจกรรมแบบออนไลน์ ตัดสินใจเลือกทำโครงงานที่ชอบ ทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้นำผู้ตามและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 4) ขั้นแสดงผลงาน (Present) จัดกิจกรรมแบบออนไซต์ นำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภูมิใจในผลงานของตนเอง ในระหว่างทำกิจกรรมสังเกตพฤติกรรม โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล และหลังทำกิจกรรมผู้สอนประเมินผลงาน โดยใช้แบบประเมินผลงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล องค์ประกอบ 5 ด้านได้แก่ ด้านระบบจัดการเรียนรู้ ด้านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการประเมินผล และด้านบริบท 2) ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมในระดับดีมาก 3) ผลการใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล พบว่า ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลในระดับดีมาก รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลผ่านการรับรอง โดยมีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2292 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs591150002.pdf | 11.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.