Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2291
Title: POLICY PROPOSALS RELATED TO THE FUTUREOF MATHEMATICS EDUCATION IN THAILAND
ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต 
Authors: PAWANRAT WATTANA
ปวันรัตน์ วัฒนะ
Rungtiwa Yamrung
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
Srinakharinwirot University
Rungtiwa Yamrung
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
rungtiwa@swu.ac.th
rungtiwa@swu.ac.th
Keywords: ข้อเสนอเชิงนโยบาย
การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์
การวิจัยอนาคตภาพ
Policy proposals
Mathematics education management
Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR)
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to study the conditions of mathematics education in Thailand; (2) to study mathematical education management guidelines in Thailand in the future; and (3) to present policy proposals related to the future of mathematical education in Thailand. By using the method of studying relevant documents, Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) uses in-depth interviews and questionnaires by 17 seventeen experts chosen by purposive sampling. The research tools were the Open-ended questionnaire and the Delphi questionnaire. The statistics used in the research were median, interquartile range and content analysis. The results are as follows: (1) the conditions of mathematics education in Thailand demonstrated inconsistent policy. The implementation of the mathematics curriculum was less successful than it should have been. Mathematics measurement and evaluation should be the opposite to the purpose of the national curriculum; (2) future guidelines for mathematical education in Thailand are related organization or agencies working together to develop educational policies related to mathematical education management, curriculum, learning management, measurement and evaluation; and (3) policy proposals related to the future of mathematical education in Thailand: (3.1) the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST) should be the main agency and cooperate with the agencies responsible for the Basic Education Commission, the Office of Teachers, the Civil Service and Educational Personnel Commission (OTEPC), and the Teachers' Council of Thailand (Khurusapha) managing mathematics education.; (3.2) mathematics curriculum should be a core curriculum, set guidelines for the same standard and integrate the curriculum into the local school curriculum; (3.3) the Ministry of Education, the agencies responsible for the Basic Education Commission, IPST, and OTEPC worked together to develop understanding of learning mathematics as well as supporting and monitoring professional learning communities (PLC) of teachers, including allocating time and workload in schools to supporting teachers; and (3.4) that learning outcomes in educational institutions should improve the learners.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทย           2) ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต และ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ซึ่งจะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกและการตอบแบบสอบถามเดลฟายของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามเดลฟาย สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทย คือ การทำงานขององค์กร/หน่วยงานในระดับนโยบายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การนำหลักสูตรคณิตศาสตรไปสู่การปฏิบัติไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร การวัดและประเมินผลทางคณิตศาสตร์สวนทางกับความมุ่งหมายของหลักสูตรชาติ 2) แนวทางการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต คือ องค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันในการพัฒนาด้านนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ ด้านหลักสูตรคณิตศาสตร์ ด้านการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และด้านการวัดและประเมินผล และ 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต คือ 3.1) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ควรเป็นหน่วยงานหลักและร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ 3.2) หลักสูตรคณิตศาสตร์ควรมีลักษณะเป็นหลักสูตรแกนกลางพร้อมกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการนำหลักสูตรคณิตศาสตร์ไปใช้ร่วมกับหลักสูตรท้องถิ่นหรือหลักสูตรสถานศึกษา 3.3) กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน สสวท. และก.ค.ศ. ควรร่วมกันพัฒนาความเข้าใจของครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รวมทั้งสนับสนุนและติดตามการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ของครูและการจัดสรรเวลาและภาระงานที่เอื้อต่อการทำงานของครู และ 3.4) การตัดสินผลการเรียนควรพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลัก
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2291
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591120003.pdf8.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.