Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2274
Title: EFFECTS OF MULTI-JOINT BEFORE SINGLE-JOINT WEIGHT TRAINING AND SINGLE-JOINT BEFORE MULTI-JOINT WEIGHT TRAINING ON MUSCLE SIZE AND MUSCLE STRENGTH IN MALE WORKERS
ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักแบบหลายข้อต่อก่อนข้อต่อเดียว และการฝึกด้วยน้ำหนักแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อ ที่มีต่อขนาดของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ชายวัยทำงาน
Authors: KANKORNPOT SUKWONG
กันต์กรพจน์ สุขวงศ์
Sonthaya Sriramatr
สนธยา สีละมาด
Srinakharinwirot University
Sonthaya Sriramatr
สนธยา สีละมาด
sonthase@swu.ac.th
sonthase@swu.ac.th
Keywords: การฝึกด้วยน้ำหนัก
การฝึกด้วยน้ำหนักแบบหลายข้อต่อ
การฝึกด้วยน้ำหนักแบบข้อต่อเดียว
ขนาดของกล้ามเนื้อ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
Weight training
Single joint weight training
Multi joint weight training
Muscle size
Muscle strength
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is to investigate the effects of multi-joint before single-joint weight training and single-joint before multi-joint weight training on muscle size and strength among 45 working-age men. Experimental Group 1 trained with multi-joint before single joint weight training and consisted of 15 people; Experimental Group 2 trained with single-joint before multi-joint weight training, and consisted of 15 people; and a control group of 15 people. The experimental group trained with weight training twice a week for 12 weeks, with three exercises per day: leg press, leg extensions and lying leg curl. The participants measured muscle strength, muscle size, adipose tissue, and fat-free body mass before and after training.  The data were analyzed for mean, standard deviation, two-way analysis of variance with repeated measures, one-way analysis of variance and a paired t-test. The results revealed: (1) all three groups had muscle size, before and after training and not different. Experimental Group 1 and 2 had more muscle size after training with a statistical significance of .05. There was no difference in muscle size between for the control group; (2) all three groups had muscle strength, both before and after training, and were not different. The three groups had significant muscle strength after training greater than before training at a .05 level; (3) all three groups had adipose tissue after training at .05. The adipose tissue after training in Experimental Group 2 was significantly less than Experimental Group 1 at .05. Experimental Group 2 was significantly lower than the control group at .05. There was no difference between Experimental Group 1 and the control group. All three groups had less adipose tissue after training; (4) the three groups had no difference in fat-free body mass before training; but fat-free body mass after training was different. The fat-free body mass after training for Experimental Group 2 was higher at a level of 0.5. Experimental Group 1 and the control group were not different. Experimental Group 1 and 2 had a statistically significant of fat-free body mass at a level of .05 level after training. Fat-free body mass was not different before and after training. In conclusion, multi-joint before single-joint weight training and single-joint before multi-joint weight training were not different in muscle strength and size, but could develop strength and muscle size. Multi-joint before single-joint weight training and single-joint before multi-joint weight training could reduce adipose tissue and single joint was more effective than multi-joint before single joint weight training in reducing adipose tissue and better at increasing fat-free body mass.
งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยน้ำหนักแบบหลายข้อต่อก่อนข้อต่อเดียว และการฝึกด้วยน้ำหนักแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อที่มีต่อขนาดของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ชายวัยทำงาน จำนวน 45 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนักแบบหลายข้อต่อก่อนข้อต่อเดียว 15 คน กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกด้วยน้ำหนักแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อ 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองฝึกด้วยน้ำหนักสัปดาห์ละ 2 วัน จำนวน 12 สัปดาห์ วันละ 3 ท่า คือ ท่า Leg press, Leg extensions และท่า lying leg curl ทดสอบความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ขนาดของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมันและมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน ก่อนการฝึกและหลังการฝึก นำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สถิติทีแบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีขนาดของกล้ามเนื้อ ทั้งก่อนการฝึกและหลังการฝึกไม่แตกต่างกัน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีขนาดของกล้ามเนื้อหลังการฝึกมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุม ขนาดของกล้ามเนื้อไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก (2) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งก่อนการฝึกและหลังการฝึกไม่แตกต่างกัน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังการฝึกมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีเนื้อเยื่อไขมันหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเนื้อเยื่อไขมันหลังการฝึกในกลุ่มทดลองที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม มีเนื้อเยื่อไขมันหลังการฝึกน้อยกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีมวลร่างกายที่ปราศจากไขมันก่อนการฝึกไม่แตกต่างกัน แต่มีมวลร่างกายที่ปราศจากไขมันหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมวลร่างกายที่ปราศจากไขมันหลังการฝึกกลุ่มทดลองที่ 2 มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกัน และกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีมวลร่างกายที่ปราศจากไขมันหลังการฝึกมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีมวลร่างกายที่ปราศจากไขมันไม่แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการฝึก สรุป การฝึกด้วยน้ำหนักหลายข้อต่อก่อนข้อต่อเดียวและการฝึกแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อให้ผลไม่แตกต่างกันในการเพิ่มความแข็งแรงและขนาดของกล้ามเนื้อ แต่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อได้ทั้งความแข็งแรงและขนาดของกล้ามเนื้อ การฝึกด้วยน้ำหนักแบบหลายข้อต่อก่อนข้อต่อเดียวและการฝึกแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อสามารถลดเนื้อเยื้อไขมันได้ โดยการฝึกด้วยน้ำหนักแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อมีประสิทธิภาพมากกว่าการฝึกด้วยน้ำหนักหลายข้อต่อก่อนข้อต่อเดียวในการลดเนื้อเยื่อไขมัน และการฝึกแบบข้อต่อเดียวก่อนหลายข้อต่อสามารถเพิ่มมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน ได้ดีกว่า      
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2274
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110019.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.