Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2184
Title: STUDY OF THE FUNCTIONALISM OF ANCESTRAL SPIRIT WORSHIP AT BAN SING IN YASOTHON PROVINCE
การศึกษาบทบาทหน้าที่พิธีกรรมเลี้ยงผีที่บ้านสิงห์ จังหวัดยโสธร
Authors: ARTHIP MUENGNAM
อาธิป เมืองนาม
Panupong Udomsilp
ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์
Srinakharinwirot University
Panupong Udomsilp
ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์
panupong@swu.ac.th
panupong@swu.ac.th
Keywords: พิธีกรรมเลี้ยงผี
บ้านสิงห์
บทบาทหน้าที่
Ancestral Spirit Worship
Ban Sing
Functionalism
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this thesis aims to study the apotheosis and symbolism via ancestral spirit worship in Ban Sing community in Muang Yasothon district in Yasothon province. The function of this ceremony was scoped in the Ban Sing area, between 2021 to 2022. The researcher has found that ancestral spirit worship consisted of three periods, first, before the ceremony, during the ceremony and, after the ceremony. Represented by this symbolism, this tradition focused on the cultural identities of the Ban Sing community by giving priority status to Anya Por Tao as the forefather governors and ancestors who were reincarnated to visit their descendants. Next, the sword represented protection, and the offering represented fertility. The symbol of shire refers to the sacred place for the ancestral spirit and also refers Hor Hong in the village beginning era. Ancestral spirit worship represented the functions of this community in various dimensions which could be changed depending on social norms, for examples, providing hope for fertility, wealth for their descendants, protecting their people by blessing them, creating consciousness kinship and the seniority of the villagers, forming traditional identities in Ban Sing community, and redeeming and relieving society from grievances and suffering.
ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบพิธีกรรม สัญลักษณ์ และบทบาทหน้าที่ในพิธีกรรมเลี้ยงผีของชุมชนบ้านสิงห์ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ผลการศึกษาพบว่า การประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีที่บ้านสิงห์ยึดถือปฏิบัติกันตามความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษมีองค์ประกอบ ดังนี้ ผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้เข้าร่วมพิธีกรรม และสถานที่ประกอบพิธีกรรม มีขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนเริ่มพิธีกรรม ช่วงประกอบพิธีกรรม และช่วงหลังเสร็จสิ้นพิธีกรรม ในด้านสัญลักษณ์มีความหมายสำคัญ 3 ประการ คือ ด้านวัตถุสัญลักษณ์ ที่มีรูปเคารพเป็นภาพแทนอัญญาพ่อเฒ่าเสมือนเจ้าเมืองและบรรพบุรุษในอดีต ดาบอาวุธเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง สำรับเครื่องเซ่นไหว้เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ด้านพฤติกรรมสัญลักษณ์ ที่มีการกราบไหว้แสดงออกถึงความจงรักภักดี การร่ายรำกวัดแกว่งดาบอาวุธแสดงการปกป้องคุ้มครองและการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และด้านพื้นที่สัญลักษณ์ แสดงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของผีเจ้านายเสมือนเป็นภาพแทนของหอโฮงในสมัยก่อตั้งบ้านและชุมชนในอดีต พิธีกรรมเลี้ยงผีที่บ้านสิงห์แสดงให้เห็นบทบาทหน้าที่ต่อชุมชนหลากหลายด้าน ดังนี้ บทบาทหน้าที่การให้ความหวังเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความมั่งคั่งแก่ลูกหลานและชุมชน บทบาทหน้าที่ในการสร้างขวัญกำลังใจและการปกป้องคุ้มครองลูกหลานและชุมชน บทบาทหน้าที่ในการสร้างสำนึกร่วมการเป็นหนึ่งเดียวกันและระบบอาวุโสของชาวบ้านในชุมชน บทบาทหน้าที่สำคัญในการแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในชุมชนบ้านสิงห์ และบทบาทหน้าที่ในการช่วยระบายความคับข้องใจและช่วยผ่อนคลายความรู้สึกทุกข์ยากและตรากตรำงานหนักในสังคมเกษตรกรรมให้แก่ชาวบ้านในชุมชน
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2184
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130022.pdf8.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.