Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2170
Title: THE CAUSAL MODEL AND THE EFFECT OF HEALTH EMPOWERMENTAND ENVIROMENTAL HEALTH LITERACY TRAINING PROGRAMON CARING PARTICIPATION BEHAVIOR AND WELL- BEINGOF BEDRIDDEN’ S  CAREGIVERS 
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมมีส่วนร่วมดูแลและสุขภาวะของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
Authors: CHUANCHOM PEACHPUNPISAL
ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล
Ungsinun Intarakamhang
อังศินันท์ อินทรกำแหง
Srinakharinwirot University
Ungsinun Intarakamhang
อังศินันท์ อินทรกำแหง
ungsinun@swu.ac.th
ungsinun@swu.ac.th
Keywords: การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ
ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมมีส่วนร่วมดูแล
health empowerment
environmental health literacy
participation behavior
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this study is to examine the causal relationship model and the effect size of all factors on the participating behavior of relatives who care for bedridden patients stuck at home in bed and studied the effectiveness of health empowerment and environmental health literacy programs of relatives who cared for these bedridden patients. The research was divided into two phases. In phase one, 200 samples were relatives who cared for bedridden patients and proportional sampling was employed. The data were collected using eleven questionnaires, and in the second phase, the samples were relatives caring for bedridden patients in the Mueang District sub-district of Chanthaburi. By randomly entering the experimental group and the control group, with a total of 30 people per group, using eleven questionnaires to collect data. The structural equation model (SEM) and MANCOVA were used in the data analysis of phase one. The results showed that the model created by the researcher was consistent with the empirical data. personal resources and social context resources had a direct influence on health empowerment. The influence values ​​were .64, .33, and .15, respectively, had a direct influence on the behavioral participation. The influence value was .86 and the participatory behavior had a direct influence on the health of the caregivers of bedridden patients. As for the effectiveness of the health empowerment program and the knowledge of environmental health of the relatives caring for bedridden patients. It was found that relatives caring for bed-ridden patients who received health empowerment programs and their knowledge of environmental health of relatives and carers of bed-ridden patients There were behaviors, and behavioral participation, which consists of behavior to change environmental health care participant behavior, physical health care participant behavior, and the mental, emotional and social health care participation behavior were higher than before participating in the activities and higher than the control group In addition, the health of the relatives of caregivers higher than before participating in activities according to the program with a statistical significance at a .01 level. The results of this study may be useful for the benefit of those involved in the medical field, used to foster participatory behavior for sick relatives to take care of helping bedridden patients at home and had a positive effect on the home environment and that the bedridden home patients received proper care
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ และขนาดอิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 200 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามจำนวน 11 ฉบับ และระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทรบุรี โดยสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 11 ฉบับเพื่อเก็บข้อมูล ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปร ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรส่วนบุคคล  ทรัพยากรบริบทสังคม  มีอิทธิพลทางตรงต่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ  โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .64  .33 และ .15 ตามลำดับ ส่วนการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมพฤติกรรมการมีส่วนร่วม โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .86 และพฤติกรรมพฤติกรรมการมีส่วนร่วมมีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ส่วนการทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัย สิ่งแวดล้อม ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง พบว่าญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพและความรอบรู้ด้านอนามัย สิ่งแวดล้อม ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จะมีพฤติกรรมพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย พฤติกรรมร่วมเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ ด้านร่างกาย พฤติกรรมมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ ด้านจิตใจและอารมณ์ และพฤติกรรมมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ ด้านสังคม สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อีกทั้งสุขภาวะของญาติผู้ดูแล สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการรักษาพยาบาล นำไปใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมการมีส่วนร่วม เพื่อให้ญาติป่วยได้ดูแล ช่วยเหลือผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และส่งผลดีต่อตนเอง สิ่งแวดล้อมที่บ้าน และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2170
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591150058.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.