Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2138
Title: COMPARISON OF BOVINE BONE XENOGRAFT AND BIPHASIC CALCIUM PHOSPHATE GRAFT  FOR INTERDENTAL BONE AUGMENTATION
การเปรียบเทียบการใช้กระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์จากวัวและไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟตสำหรับการปลูกกระดูกระหว่างฟัน
Authors: TIPAPORN ONGSUWAN
ทิพาพร อ่องสุวรรณ
Narongsak Laosrisin
ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน
Srinakharinwirot University
Narongsak Laosrisin
ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน
narong@swu.ac.th
narong@swu.ac.th
Keywords: การสร้างใหม่ของอวัยวะปริทันต์
วิธีการสงวนเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟัน
การปลูกกระดูกระหว่างฟัน
กระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์จากวัว
ไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟตกราฟ
Periodontal regeneration
Papillary preservation technique
Interdental bone augmentation
Bovine derived xenograft
Biphasic calcium phosphate graft
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Objectives: The interdental papilla absence is caused by periodontitis and its healing after treatment. The aim of this study is to compare the results of using bovine derived xenograft (BDX) and biphasic calcium phosphate (BCP) graft for the reconstruction of the interproximal area. Methods: A Total of 20 papillary absent sites were subjected to a microsurgical procedure with a horizontal incision on the buccal aspect of the base of the papilla. The papilla tissue were elevated upward and the BDX or BCP grafts were augmented in 10 sites each. A piece of free gingival graft was sutured to the buccal site. The primary outcomes of black triangle height (BTH) and relative bone level (RBL) were compared between BDX and BCP at baseline, at one, three and six months,  postoperatively. Results: The papillary height increased in four sites in both the BDX and BCP groups. The mean value of ΔBTH in the BCP group (-0.45±0.60 mm.) was more reduced than the BDX group (-0.20±0.59 mm.) significantly (p=0.005) after six months. There is no significant difference (p=0.564) in the mean value of the RBL between the BDX (1.11±0.10 mm.) and BCP groups (1.62±0.10 mm.) after six months.  Conclusions: The microsurgery using BDX or BCP graft with free gingival graft might be a new interdental augmentation that can increase the interdental papillary height and new bone formation.
วัตถุประสงค์: การสูญเสียเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคปริทันต์และกระบวนการหายภายหลังการรักษา การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้กระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์จากวัว (BDX) กับไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟต (BCP) ในการปลูกกระดูกระหว่างฟัน วิธีการ: ช่องระหว่างฟันที่สูญเสียเหงือกสามเหลี่ยมจำนวน 20 ตำแหน่งได้รับการปลูกกระดูกระหว่างฟันโดยการทำไมโครศัลยกรรมด้วยการกรีดเหงือกในแนวนอนบริเวณฐานของเหงือกสามเหลี่ยมทางด้านแก้ม ยกเหงือกสามเหลี่ยมขึ้นเพื่อให้เกิดช่องว่างในการปลูกกระดูก  วิวิธพันธุ์จากวัวหรือไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟต ชนิดละ 10 ตำแหน่ง และทำการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเหงือกอิสระเพื่อปิดช่องทางเข้าด้านแก้ม วัดระยะช่องว่างสีดำ (BTH) และระดับสันกระดูกเบ้าฟันสัมพันธ์ (RBL) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม BDX และกลุ่ม BCP ที่ก่อนการทำศัลยกรรมกับหลังทำ 1 เดือน 3 เดือนและ 6 เดือน ผลการศึกษา: เหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันมีความสูงเพิ่มขึ้น 4 ตำแหน่งจาก 10 ตำแหน่งทั้งในกลุ่ม BDX และ BCP โดยกลุ่ม BCP มีช่องว่างสีดำที่ลดลง (ΔBTH) มากกว่ากลุ่ม BDX อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.005) เมื่อติดตามผลที่ 6 เดือน โดยกลุ่ม BDX มีค่าเฉลี่ย ΔBTH เท่ากับ -0.20±0.59 มม. และกลุ่ม BCP มีค่าเท่ากับ -0.45±0.60 มม. นอกจากนี้พบว่า RBL ที่ 6 เดือนของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.564) โดยกลุ่ม BDX มีค่าเฉลี่ย RBL ที่ลดลงเท่ากับ 1.11±0.10 มม. และกลุ่ม BCP มีค่าลดลงเฉลี่ย 1.62±0.10 มม. สรุป: การใช้กระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์จากวัวหรือไบเฟสิคแคลเซียมฟอสเฟตร่วมกับการปลูกเนื้อเยื่อโดยการทำไมโครศัลยกรรมเป็นวิธีใหม่ที่ใช้ในการเสริมสร้างให้เกิดการเพิ่มขึ้นของหงือกสามเหลี่ยมและกระดูกระหว่างฟันได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2138
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110049.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.