Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2130
Title: COMPARISON OF FUNCTIONAL MOBILITY AND LOWER EXTREMITY STRENGTH BETWEEN PATIENTS WITH OBESE AND NON-OBESE KNEE OSTEOARTHRITIS
การเปรียบเทียบความสามารถในการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาระหว่างผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนและไม่อ้วน
Authors: WEERAPONG SEEHAPANYA
วีระพงศ์ สีหาปัญญา
Chatchada Chinkulprasert
ชัชฎา ชินกุลประเสริฐ
Srinakharinwirot University
Chatchada Chinkulprasert
ชัชฎา ชินกุลประเสริฐ
chatcha@swu.ac.th
chatcha@swu.ac.th
Keywords: ภาวะอ้วน
ข้อเข่าเสื่อม
การทดสอบการลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ
การทดสอบลุก-ยืน นั่งบนเก้าอี้ 30 วินาที
แบบสอบถามผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
Obesity
Knee osteoarthritis
Timed up and go test
30-second chair stand test
Knee osteoarthritis outcome score
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The common symptoms of knee osteoarthritis (OA) are mechanical knee pain, decreased functional mobility, joint stiffness and mobility restrictions.  Knee OA patients with obesity may increase the risk of poor mobility and lower limb strength. This study aims to compare the functional mobility and lower extremity strength and to compare the knee osteoarthritis outcome scores  between obese and knee non-obese OA. Method: There were 24 knee OA patients, divided into obese (n= 12) and non-obese (n= 12) groups. The functional mobility and lower extremity strength were measured by the timed up and go test (TUG) and the 30-second chair stand test (30s-CST). The knee osteoarthritis outcome score was reported by a knee osteoarthritis outcome questionnaire (KOOS). The independent t-test was used to compare the data between groups. Results: The obese knee OA patients spent significantly more time in TUG test when compared to the non-obese group (18.44 ± 6.96 and 12.49 ± 1.68 seconds, respectively (p = 0.009)). However, there was not significant difference in 30s-CST between obese and non-obese knee OA groups (9.33 ± 2.87 and 11.17 ± 2.86 times, respectively (p = 0.131)). The obese knee OA group was significantly less than those in non-obese knee OA group in KOOS-pain, -symptoms and -activity daily living (ADL) subscale scores ((67.85 ± 15.35, 84.81 ± 8.07, p=0.003), (66.37 ± 15.19, 81.85 ± 11.84, p=0.001), and (64.03 ± 16.64, 89.13 ± 10.17,p=0.0002), respectively)). Conclusion: The functional mobility in obese knee OA patients was lower than those in non-obese knee OA whereas there was not difference in lower extremity strength between groups. In addition, the opinion of obese knee OA patients about the pain, symptoms, and ADL of their knee was worse than the opinion of non-obese knee OA group.
อาการแสดงของข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดข้อเข่า ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง และข้อฝืดหรือจำกัดการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วยอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของรยางค์ขาระหว่างผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวปกติ วิธีการ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะอ้วน 12 คน และกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวปกติ 12 คน ทำการทดสอบความสามารถในการเคลื่อนไหวด้วยการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed up and go test: TUG) และทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาด้วยการทดสอบลุก-ยืน นั่งบนเก้าอี้ 30 วินาที (30-second chair stand test: 30s- CST)  แล้วเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษา ในกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนใช้เวลาในการทดสอบ TUG มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักตัวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (18.44 ± 6.96 และ 12.49 ± 1.68 วินาที ตามลำดับ (p = 0.009)) แต่การทดสอบด้วย 30s-CST ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวปกติ (9.33 ± 2.87 และ 11.17 ± 2.86 ครั้ง ตามลำดับ (p = 0.131)) ส่วนคะแนนจากแบบสอบถามผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมพบว่ากลุ่มผู้ป่วยข้อข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนมีคะแนนต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมน้ำหนักตัวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งอาการปวด อาการ และการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ((67.85 ± 15.35 และ 84.81 ± 8.07 p=0.003) (66.37 ± 15.19 และ 81.85 ± 11.84, p=0.001) และ (64.03 ± 16.64 และ 89.13 ± 10.17 p=0.0002), ตามลำดับ)) สรุปผล ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนมีความสามารถในการเคลื่อนไหวน้อยกว่าผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาในทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน และคะแนนจากแบบสอบถามผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะอ้วนแย่กว่าผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมน้ำหนักตัวปกติ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2130
Appears in Collections:Faculty of Physical Therapy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110112.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.