Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2125
Title: RESILIENCE AND SELF-ADVOCACY ENHANCEMENT FOR BATTERED WOMAN :ASSESSMENT METHOD DEVELOPMENT AND STUDY OF EFFECTIVENESSOF APPLIED COGNITIVE BEHAVIORAL THERAPYUSING A RANDOMIZED CONTROLLED TRIALS
การฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตและการพิทักษ์สิทธิตนเองของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว : การพัฒนามาตรวัดและศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรมประยุกต์โดยใช้การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Authors: TONSAI KAEWSAWANG
ต้นสาย แก้วสว่าง
Sittiporn Kramanon
สิทธิพร ครามานนท์
Srinakharinwirot University
Sittiporn Kramanon
สิทธิพร ครามานนท์
sittipornk@swu.ac.th
sittipornk@swu.ac.th
Keywords: พลังใจ
การพิทักษ์สิทธิตนเอง
สตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว
การบำบัดความคิดและพฤติกรรมประยุกต์
RESILIENCE
SELF-ADVOCACY
BATTERED WOMEN
APPLIED COGNITIVE BEHAVIORAL THERAPY
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are: (1) to develop a Resilience Scale and Self-Advocacy Scale for battered women; and (2) to examine the effectiveness of the Applied Cognitive Behavioral Therapy for battered women after the experiment and after 1-3 months. The randomized control trial research design was divided into two phases. Phase One was to develop the Resilience Scale and Self-Advocacy Scale for battered women. The scale was developed by a literature review. The participants were 400 battered women from the One Stop Crisis Center (Hospital Affiliation) assigned into two groups, 200 people for exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis (CFA). Then, the scales were measured by testing validity and reliability. Phase Two used a randomized control trial design to test the effectiveness of Applied Cognitive Behavioral Therapy with 60 battered women, with 30 in the experimental group and 30 in the control group. The experimental group received therapy for 24 hours together with the Treatment-As-Usual (TAU), provided by the hospital. The control group only received Treatment-As-Usual. The data was collected three times: before, after, and 1-3 months after the study using the Two-way ANOVA with repeated measures. The results of Phase One found that the Resilience Scale had 51 items. The exploratory factor analysis consisted of three major components, positive self-perception, social support, and social justice awareness. The communalities were between 0.584-0.910. The whole scale reliability was 0.946. The self-advocacy scale found three components and the result of confirmatory factor analysis found that the self-advocacy scale agreed with the empirical data (χ2 = .001, df= 1, relative chi-square = 0.001, p = 0.976, RMSEA = 0.000, RMR = 0.001, GFI = 1.000, AGFI = 1.000, CFI = 1.000 และ PGFI = 0.167) The overall reliability was 0.923. The results of Phase 2 found battered women who received treatment had higher resilience and self-advocacy after 1-3 months (p<0.01) with 0.984 of effect size. The findings can be implemented as guidelines for hospitals to effectively work with battered women.
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. พัฒนามาตรวัดพลังใจและการพิทักษ์สิทธิตนเองของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้มีคุณภาพ 2. พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรมประยุกต์ต่อพลังใจและการพิทักษ์สิทธิตนเองในสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน ใช้การวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (A randomized controlled trial or randomized control trial; RCT) แบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยเพื่อพัฒนามาตรวัดพลังใจและมาตรวัดการพิทักษ์สิทธิตนเองของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พัฒนามาตรวัดจากการทบทวนวรรณกรรมและทดสอบคุณภาพของมาตรวัดกับกลุ่มตัวอย่างสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่รับบริการจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม (สังกัดโรงพยาบาล) จำนวน 400 คน โดยสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 200 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและตามด้วยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบคุณสมบัติทางการวัดด้วยการตรวจค่าความเชื่อมั่นในการวัดและความเที่ยงตรงในเชิงโครงสร้าง ระยะที่ 2 เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรมประยุกต์ กลุ่มตัวอย่าง 60 คน กลุ่มทดลอง 30 คน และ กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรมประยุกต์รวม 24 ชั่วโมงร่วมกับการรักษามาตรฐานของโรงพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการรักษามาตรฐานของโรงพยาบาลเท่านั้น การเก็บข้อมูลดำเนินการ 3 ครั้งได้แก่ 1) ก่อนการวิจัย 2) หลังการวิจัย 3) ติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความแปรปรวนหลายตัวแปรสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาระยะที่ 1 ในส่วนของมาตรวัดพลังใจพบว่า มาตรวัดมี 51 ข้อ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก (การรับรู้ตนเองทางบวก สัมพันธภาพและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง และ การรับรู้ความยุติธรรมทางสังคม) ค่าความร่วมกันหลังจากการสกัดองค์ประกอบของแต่ตัวบ่งชี้มีค่าอยู่ระหว่าง .584 ถึง .910 โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.946 ในส่วนของมาตรวัดการพิทักษ์สิทธิพบว่า มาตรวัดการพิทักษ์สิทธิตนเอง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก (การรู้จักตัวเอง ภาวะผู้นำกับการเข้าใจสิทธิ และ ทักษะการสื่อสาร) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนพบว่าโมเดลมาตรวัดการพิทักษ์สิทธิตนเองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = .001, df= 1, relative chi-square = 0.001, p = 0.976, RMSEA = 0.000, RMR = 0.001, GFI = 1.000, AGFI = 1.000, CFI = 1.000 และ PGFI = .167) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.923 ระยะที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการรักษาตามแนวทางมาตราฐานร่วมกับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบำบัดความคิดและพฤติกรรมประยุกต์มีพลังใจและการพิทักษ์สิทธิตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีขนาดอิทธิพล (Effect size) .984 ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาแนวทางการดูแลสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2125
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150024.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.