Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2118
Title: STRUCTURAL EQUATION MODELING OF PICO FINANCE CUSTOMERS'  FINANCIAL BEHAVIORS IN BANGKOK METROPOLITAN REGION
โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมทางการเงิน ของลูกค้าสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Authors: SARUNYA SOMSONG
ศรัณยา สมทรง
Numchai Supparerkchaisakul
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล
Srinakharinwirot University
Numchai Supparerkchaisakul
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล
numchai@swu.ac.th
numchai@swu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมทางการเงิน
ปัจจัยทางจิตวิทยา
โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Financial behavior
Psychological factor
Structural Equation Modeling
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to examine and to compare the structural equation modeling of the financial behaviors of PICO finance customers in the Bangkok metropolitan region between creditworthy customers and non-creditworthy customers. A total of 537 samples included 274 creditworthy customers and 263 non-creditworthy customers from multi-stage sampling. There were nine questionnaires used to measure the variables. The reliability of the measures ranged from 0.84 to 0.98. There were two important findings in this study. First, the hypothesized structural equation model of financial behavior among PICO finance customers in Bangkok metropolitan region was adjusted to the relationship based on related concepts and theories. There is goodness of fit with the empirical data, resulting the goodness of fit indices with X2 = 315.29, df = 115, (p < 0.05), SRMR = 0.045, RMSEA = 0.057, GFI = 0.94, NFI = 0.92, CFI = 0.95, TLI = 0.93, AGFI = 0.91, PNFI = 0.69 and X2/df = 2.74. The top three causal variables that totally affected financial behavior, namely, attitudes to financial behavior (0.70), social capital (0.37), and financial literacy (0.32). All of the causal variables accounted for 85% of variance in financial behavior. Secondly, the creditworthy customers had higher financial capabilities than non-creditworthy customers, showing that creditworthy customers had the effect coefficient of financial literacy on financial skills (0.62) higher than non-creditworthy customers (0.35). In addition, the mean of latent variables of creditworthy customers was higher than non-creditworthy customers for seven latent variables, namely, financial behavior, attitudes toward financial behavior, financial literacy, financial skills, neuroticism personality, conscientiousness personality, and social capital.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบและเปรียบเทียบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้าสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตและลูกค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิต กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 537 คน เป็นลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิต จำนวน 274 คน และลูกค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิต จำนวน 263 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวัดตัวแปรมีจำนวน 9 ฉบับ มีความเชื่อมั่นแบบวัดอยู่ระหว่าง 0.84 ถึง 0.98 ผลการวิจัยที่สำคัญ มี 2 ประการ ดังนี้ ประการแรก โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้าสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายหลังการปรับแก้แบบจำลองสมมติฐาน พบว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีวัดความสอดคล้อง  X2 = 315.29, df = 115, (p < 0.05), SRMR = 0.045, RMSEA = 0.057, GFI = 0.94, NFI = 0.92, CFI = 0.95, TLI = 0.93, AGFI = 0.91, PNFI = 0.69 และ X2/df = 2.74 โดยตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมทางการเงิน 3 อันดับแรก คือ เจตคติต่อพฤติกรรมทางการเงิน (0.70) ทุนทางสังคม (0.37) และความรอบรู้ทางการเงิน (0.32) ตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมทางการเงินได้ ร้อยละ 85 ประการที่สอง กลุ่มลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตมีความสามารถทางการเงินสูงกว่ากลุ่มลูกค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิต กลุ่มลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตความรอบรู้ทางการเงินมีอิทธิพลต่อทักษะทางการเงิน (0.62) สูงกว่ากลุ่มลูกค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิต (0.35) นอกจากนี้ลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตมีค่าเฉลี่ยตัวแปรแฝงสูงกว่าลูกค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตมากถึง 7 ตัวแปร คือ พฤติกรรมทางการเงิน เจตคติต่อพฤติกรรมทางการเงิน ความรอบรู้ทางการเงิน ทักษะทางการเงิน บุคลิกภาพแบบขาดความมั่นคงทางอารมณ์ บุคลิกภาพแบบมีสติรู้คิด และทุนทางสังคม
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2118
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591120031.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.