Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/211
Title: | CAUSAL FACTORS AND EFFECTIVENESS OF ENHANCING PROPER ONLINE GAMING HABITS PROGRAM OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุและประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Authors: | TANYAVANUN LIANYANG ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง Saran Pimthong ศรัณย์ พิมพ์ทอง Srinakharinwirot University. INSTITUTE OF RESEARCH IN BEHAVIORAL SCIENCE |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this sequential quantitative method research were to examine the casusal model relationship of proper online gaming behavior among lower secondary school students and to determine the effectiveness of proper online gaming behavior enhancement program for lower secondary school students. In the first phase, the sample of four hundred students. In the latter, there were forty students in both the experimental and control groups. The experimental group received proper online gaming behaviors enhancement program. A questionaire with a six - summated rating scales was used to collect the data, the coefficient was between .74 – .95. In addition, structural equation model analysis, MANNOVA and ANCOVA were also applied.
The results of first phase showed that attitudes toward proper online gaming behavior had a direct effect on online gaming behaviors to enhance skills and safe online gaming behaviors. The mental health and family relationships had a direct effect on safe online gaming behaviors, while online game literacy had an indirect effect on proper online gaming behaviors to enhance skills and safe online gaming behaviors. Then, using variables that had a significant influence on the first phase developed to enhance the proper online gaming habits program of lower secondary school students. The results of the latter phase showed that students who participated in the proper online gaming behaviors enhancement program for lower secondary school students may have better results than the control group during the post-test experiment period to a four week follow-up. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบพหุวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม และประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการวิจัยระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล รวม 400 คน ระยะที่ 2 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประเมินรวมค่า 6 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .74 – .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุตัวแปร (MANOVA) และความแปรปรวนร่วมพหุตัวแปร (MANCOVA) ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า เจตคติต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์เพื่อการเสริมสร้างทักษะและพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ สุขภาพจิต และสัมพันธภาพในครอบครัว มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างปลอดภัย และพบว่าการรู้เท่าทันเกมออนไลน์ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์เพื่อการเสริมสร้างทักษะและพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างปลอดภัย ผ่านเจตคติต่อพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม จากนั้นจึงนำตัวแปรที่พบผลว่ามีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากการวิจัยระยะที่ 1 มาพัฒนาเป็นโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมสำหรับการศึกษาในระยะที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสม มีพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์อย่างเหมาะสมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ ทั้งในระยะหลังทดลองจนถึงระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ |
Description: | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/211 |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs561150055.pdf | 19.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.