Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2064
Title: | DEVELOPMENT OF AN ACADEMIC NETWORK MANAGEMENT MODEL IN SMALL-SIZED PRIMARY SCHOOLS UNDER THE AUTHORITY OF THE PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE, OFFICE OF BASIC EDUCATION การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Authors: | SAKKARIN SOMPIDNAPA ศักรินทร์ สมพิศนภา Jantarat Phutiar จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ Srinakharinwirot University Jantarat Phutiar จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ jantarat@swu.ac.th jantarat@swu.ac.th |
Keywords: | รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา Academic network management model Small-sized primary schools Primary Education Service Area |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The aims of this research are as follows: 1) to study problematic conditions and the components of academic network management; 2) to develop and test a model of academic network management; and 3) to assess a model of academic network management in small-sized primary schools under the authority of the Office of the Basic Education Commission. This study employed mixed methods research. The qualitative research was an interview with seven experts selected by the purposive sampling method. In terms of the quantitative research, the sample group consisted of 364 directors and teachers in small-sized primary schools, using a multi-stage random sampling method. The data were also collected using a semi-structured interview and a questionnaire with a reliability of 0.83. The statistics used to analyze the data were content analysis and confirmatory factor analysis. The research results found the following: 1. there are three problems in small schools: 1) teacher shortages , 2) budget issues and 3) teaching management problems. 2. academic network management model in small-sized primary schools under the authority of the Office of the Basic Education Commission, which consisted of nine components: (1) policy and structure of the academic administration of the network; (2) cooperation of the network in the development of academic work; (3) network resource sharing management; (4) network maintenance; (5) creation of an atmosphere of equality and motivation for members to work together; (6) usage of digital technology to manage and promote learning; (7) resource mobilization; (8) participation of the network in measuring and evaluating learners; and (9) academic leadership among network administrators; 3) estimation of the model of an academic network management. In conclusion, the suitability and the possibility were at the highest level (average=4.51) (SD=.56) and the factor of usefulness was at the highest level (average=4.53) (SD=.56) ; 4) estimation of the manual. Inconclusion, the suitability and the posssibility were at the highest level (average=4.74) (SD=.47) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและทดลองรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลาง จำนวน 364 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมี 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาขาดแคลนครู 2) ปัญหาด้านงบประมาณ 3) ปัญหาการจัดการเรียนการสอน 2. รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีจำนวน 9 องค์ประกอบ คือ 1) นโยบายและโครงสร้างการบริหารงานวิชาการของเครือข่าย 2) ความร่วมมือของเครือข่ายในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียน 3) การจัดการทรัพยากรร่วมกันของเครือข่าย4) การธำรงรักษาเครือข่าย 5) บรรยากาศแห่งความเสมอภาคและแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันของสมาชิก 6) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 7) การระดมทรัพยากร 8) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการวัดและประเมินผลผู้เรียน และ 9) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารเครือข่าย 3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .56 ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .56 และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .56 ผลการประเมินคู่มือ ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .474 |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2064 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621150070.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.