Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2045
Title: LESSONS LEARNED ON THE SOLID WASTE MANAGEMENT PROCESS OFBAN RANG PHLAP COMMUNITY, KRAP YAI SUBDISTRICT,BANPONG DISTRICT, RATCHABURI PROVINCE 
การถอดบทเรียนความสำเร็จของกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
Authors: PITCHAYADA PICHAYAWARACHOTI
ภิชญาดา พิชญะวรโชติ
Chulasak Channarong
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์
Srinakharinwirot University
Chulasak Channarong
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์
chulasak@swu.ac.th
chulasak@swu.ac.th
Keywords: กระบวนการจัดการ
ขยะมูลฝอย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
Management process
Solid waste
Success factors
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research had the following objectives: (1) to study the disposal process of municipal solid waste in Ban Rang Phlap community; (2) to study the success factors in the disposal process of municipal solid waste in Ban Rang Phlap community. The qualitative research was conducted with key informants to fulfill the first objective, including a village chief (1 person), the assistant village chief (1 person), the community committee (7 people), and the community representatives (8 people). The second objective included the village chief (1 person), the assistant village chief (1 person), the community committee (7 people), and the Director of the Department of Public Health and Environment from Krap Yai Sub-district. In the first objective, the community follows POLC management theory, as follows: (1) Planning: the community leaders recognized the importance of preliminary waste management planning, such as returning the trash to the municipality of Krap Yai Subdistrict; (2) Organizing: every member has to separate and manage waste in their own household, and the community leaders and community board owners of the waste management to help the community; (3) Leading: to motivate all community members and related various activities; (4) Controlling: the community emphasizes the importance of the results evaluation and review and support from Krap Yai Subdistrict Municipality. In the second objective, the research results showed that success came from internal factors: (1) the disposal process of municipal solid waste had four main POLC factors; (2) community leaders are public-minded and emphasized problems; (3) the cooperation of a unified community; (4) local government support to solve the community problems in terms of knowledge, budget, and data collection for analysis.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน กรรมการชุมชน จำนวน 7 คน ตัวแทนของประชากรในชุมชน จำนวน 8 คน และเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ข้อที่สอง ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน กรรมการชุมชน จำนวน 7 คน และผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกรับใหญ่ จำนวน 1 คน จากวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนดำเนินการตามแนวคิดทฤษฎีการจัดการ POLC ได้แก่ (1) การวางแผน (Planning) : ผู้นำชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้วางแผนการจัดการขยะในเบื้องต้น นั่นก็คือ การคืนถังขยะให้แก่เทศบาลตำบลกรับใหญ่ และได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชนเป็นอย่างดี (2) การจัดองค์การ (Organizing) : หน้าที่ของสมาชิกทุกคนคือการคัดแยกขยะและจัดการขยะในครัวเรือนของตนเอง และยังมีผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน เจ้าของฐานการเรียนรู้การจัดการขยะ แบ่งหน้าที่กัน (3) การชี้นำ (Leading) : กระตุ้นจิตสำนึกแก่สมาชิกในชุมชน และได้ให้สมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (4) การควบคุม (Controlling) : ชุมชนให้ความสำคัญกับการประเมินผลลัพธ์และตรวจสอบ และยังได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลกรับใหญ่ในการให้ความช่วยเหลือวางแผนและประชุมต่างๆ อีกด้วย จากวัตถุประสงค์ข้อที่สอง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยภายใน (1) กระบวนการจัดการขยะมูลฝอย มีกิจกรรมหลัก 4 ประการ ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การชี้นำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) (2) ผู้นำชุมชน มีจิตสาธารณะและให้ความสำคัญกับปัญหา (3) ความร่วมมือของประชากรภายในชุมชน มีความสามัคคีกัน ร่วมมือร่วมใจกัน และปัจจัยภายนอก (4) การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความรู้และงบประมาณ และรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ ส่งผลช่วยให้ชุมชนประสบความสำเร็จในด้านการจัดการขยะมูลฝอย
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2045
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130138.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.