Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2010
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWILAILAKSANA SOYKEEREEen
dc.contributorวิไลลักษณา สร้อยคีรีth
dc.contributor.advisorRatchapan Choiejiten
dc.contributor.advisorรัชพันธุ์ เชยจิตรth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2023-02-08T07:13:32Z-
dc.date.available2023-02-08T07:13:32Z-
dc.date.created2022
dc.date.issued8/8/2022
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2010-
dc.description.abstractThe objectives of this study are as follows: (1) to study the operating context of Microfinance Institutions (MFIs) and Community Financial Institutions (CFIs); (2) to analyze the operational efficiency and sustainability of MFIs; and (3) to analyze the impact of MFIs operations on impoverished Thai households. This study used secondary data from the Cooperative Auditing Department, the Community Development Department, the National Village and Urban Community Fund, the Thai Village Fund, the Bureau of Public Sector Finance, the Office of the National Economic and the Social Development Council, and the National Statistical Office, from 2004 to 2020. A two-stage Data Envelopment Analysis was used to measure efficiency, a logistic regression model was used to measure sustainability and fixed-effect regression was used to analyze the impact of MFIs operations on impoverished Thai households. The results of this study found: (1) most Thai MFIs were launched with government budget support to the poor or pro-poor policy, therefore the initial status of MFI is not a legal entity, and no standards regarding operational and financial reports, no databases or management systems for efficient decision making, and duplicate MFIs under the supervision of government organizations. The Public Financial institutions Act B.E. (2562) was used to reduce the limitations in MFIs by restructuring and upgrading  with the status of a juristic person by giving them more powers, regularly reported up-to-date transactions in accordance with the established standards for the efficiency and sustainability of MFIs; (2) the two-stage Data Envelopment Analysis technique identified overall performance and sub-operational efficiency, operation efficiency, financial self-sufficiency efficiency, and outreach efficiency, more clearly than the traditional Data Envelopment Analysis technique. The study of the financial self-sufficiency sustainability of MFIs found that Return on Asset (ROA) had a positive impact on operational sustainability, Return on Equity (ROE) and the main income of MFIs. The committee should consider net profit, total assets and equity into account at an appropriate level. The committee should provide mutual assistance between members without being excluded from the MFIs; and (3) to a member of MFIs in the lowest group of on impoverished Thai households had negative impact and being a member of MIFs on impoverished Thai households resulted in a positive impact on household income and a negative impact on household expenditures.en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาบริบทการดำเนินงานขององค์กรการเงินฐานรากและสถาบันการเงินประชาชน 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานและความยั่งยืนขององค์กรการเงินฐานราก และ 3) วิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินงานองค์กรการเงินฐานรากที่มีต่อภาคครัวเรือนไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์  กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักพัฒนานโยบายสถาบันการเงินภาคประชาชน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระหว่างปี 2557-2563 โดยใช้เครื่องมือวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยเทคนิคข้อมูลเชิงโอบล้อมแบบสองขั้นตอน (Two-stage DEA) แบบจำลองโลจิสติกส์ (Logistic regression) สำหรับศึกษาความยั่งยืนขององค์กรการเงินฐานราก และการถดถอยแบบ Fixed-effect สำหรับศึกษาผลกระทบของการดำเนินงานองค์กรการเงินฐานรากต่อภาคครัวเรือนไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์กรการเงินฐานรากไทยส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายเอื้อคนจน โดยเริ่มต้นจากการสนับสนุนเงินงบประมาณจากภาครัฐ สถานะเริ่มแรกจึงมักจะไม่เป็นนิติบุคคล ไม่ได้ริเริ่มโดยชุมชน ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานและเป็นปัจจุบัน ไม่มีระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่สามารถนำข้อมูลกลับมาศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบความซ้ำซ้อนขององค์กรการเงินฐานรากภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรรัฐหลายหน่วยงานภายใต้กลุ่มเป้าหมายเดียวกัน พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 จึงเป็นการลดทอนข้อจำกัดข้างต้น โดยการปรับโครงสร้างและยกระดับการดำเนินงานขององค์กรการเงินฐานรากใหม่ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล กำหนดอำนาจหน้าที่ให้นายทะเบียนมีบทบาทในการดำเนินการมากขึ้น และมีการรายงานผลการดำเนินงานและการทำธุรกรรมเป็นประจำ เป็นปัจจุบัน และได้มาตรฐาน เพื่อให้การดำเนินงานองค์กรการเงินฐานรากมีประสิทธิภาพและดำเนินการได้อย่างยั่งยืน 2) เทคนิคการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานสองขั้นตอนสามารถระบุประสิทธิภาพโดยรวมและประสิทธิภาพการดำเนินงานย่อยทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ (Operation efficiency) และ (2) ด้านประสิทธิภาพด้านความเพียงพอทางการเงิน (Financial Self-sufficiency efficiency) และประสิทธิภาพด้านการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในชุมชน (Outreach efficiency) ทำให้ทราบการดำเนินงานที่ต้องได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจนขึ้นกว่าการประเมินประสิทธิภาพแบบดั้งเดิม ส่วนการศึกษาความยั่งยืนของการดำเนินงานองค์กรการเงินฐานราก พบว่า อัตราส่วนกำไรสุทธิหารด้วยสินทรัพย์รวมส่งผลกระทบทางบวกต่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน ส่วนตัวแปรที่ส่งผลกระทบทางลบคืออัตราส่วนกำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและรายได้หลักขององค์กร ดังนั้นการบริหารงานขององค์กรผู้บริหารควรคำนึงถึงกำไรสุทธิ สินทรัพย์รวม และส่วนของผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  เน้นให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกให้กู้เงินได้ตามความต้องการ โดยไม่ถูกกีดกันจากสมาชิกด้วยกันเอง และ 3) การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรการเงินฐานรากของครัวเรือนยากจนระดับต่ำสุดส่งผลให้รายได้ของครัวเรือนลดลง ขณะที่ครัวเรือนยากจนระดับก่อนต่ำสุดพบว่าการเป็นสมาชิกองค์กรการเงินฐานรากทำให้รายได้ของครัวเรือนสูงขึ้น แต่ทำให้รายจ่ายของครัวเรือนลดลง ทั้งนี้มีข้อสังเกตคือกลุ่มคนจนมากกว่าร้อยละ 60 ที่ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรการเงินฐานรากได้th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectสถาบันการเงินประชาชนth
dc.subjectองค์กรการเงินฐานรากth
dc.subjectครัวเรือนยากจนth
dc.subjectCommunity Financial Institutionen
dc.subjectMicrofinance Institutionen
dc.subjectImpoverished Thai householdsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleEFFECTS OF MICROFINANCIAL INSTITUTIONAL ON THAI POVERTY HOUSEHOLDS AND THE TRANSITION TO COMMUNITY FINANCIAL INSTITUTIONen
dc.titleผลกระทบของการดำเนินงานองค์กรการเงินฐานรากต่อครัวเรือนยากจนไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่สถาบันการเงินประชาชนth
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorRatchapan Choiejiten
dc.contributor.coadvisorรัชพันธุ์ เชยจิตรth
dc.contributor.emailadvisorratchapan@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorratchapan@swu.ac.th
dc.description.degreenameDOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineen
dc.description.degreedisciplineth
Appears in Collections:School of Economics and Public Policy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571120084.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.