Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1993
Title: APPLICATION DESIGN FOR RISK AWARENESS AND NOTFICATION FOR CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASES  
การออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Authors: PRAYUTH TUNGSANGOB
ประยุทธ ตั้งสงบ
Noppadol Inchan
นพดล อินทร์จันทร์
Srinakharinwirot University
Noppadol Inchan
นพดล อินทร์จันทร์
noppadoli@swu.ac.th
noppadoli@swu.ac.th
Keywords: โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ค่าดัชนีมวลกาย
สื่อสังคมออนไลน์
non-communicable disease (NCD)
Body mass index (BMI)
Social Media
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to design an application for risk awareness and notification for chronic non-communicable diseases. The study was divided into three dimensions: (1) to study the data related to the risk of chronic non-communicable diseases, awareness, and risky behavior by analyzing related articles and research; (2) to study the factors related to the participation of families, communities and society, and for modifying behaviors; and (3) to study the factors related to the use of social media applications for creating research tools, i.e., applications for risk awareness and notification for chronic non-communicable diseases for making an assessment form to question 100 people about the risk of chronic non-communicable diseases. The questions were divided into three parts that were directly related to risk awareness and notifications to respond to the objectives of the study, as follows: (1) for the application of data display on personal health, the results revealed that the mean of capacity to display BMI and life quality (sleeping, water drinking, exercising, and smoking) for awareness of the data during the use of the application was 4.4, with a standard deviation of 0.63, which was considered to be at a good level. The mean of connection with devices and applications on health for analyzing data on notifications regarding health provided to users was 4.3, with a standard deviation of 0.78, which was considered to be a good level. The mean of analysis on the comparison of retrospective data on health as regular data for users and notification on health care was 4.4, with a standard deviation of 0.75, which was considered to be a good level; (2) the application data display on social media, the results revealed that the mean of the capacity to encourage beloved persons, friends, or family members to provide notifications on health care was 4.2, with a standard deviation of 0.79, which was considered to be at a good level. The mean of capacity to share personal health data and awareness leading to notification settings, such as exercising, sufficient rest, or warning in case of any risky behavior, for example, drinking or smoking, was 4.3, with a standard deviation of 0.79, which was considered a good level; and (3) for application on data display for health products in the marketplace and the results revealed that the mean of capacity to get special discounts from ordering via application after performing health care was 4.2, with a standard deviation of 0.89, which was considered to be at a good level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของของการวิจัย 1) เพื่อออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ด้านคือ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้ และพฤติกรรมของผู้มีความเสี่ยง โดยดำเนินงานวิจัย ด้วยการวิเคราะห์บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สังคม และชุมชน เพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ 3) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ โดยนำมาสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย อันได้แก่แอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อนำไปทำแบบประเมิน เพื่อสอบถามกลุ่มผู้มีความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 100 คน โดยแบ่งคำถามเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์การศึกษา ออกเป็น 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การรับรู้ความเสี่ยง และแจ้งเตือน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1) การแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพส่วนบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของการสามารถแสดงผลสรุปค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และค่าคณภาพการใชัชีวิต Life Quality (การนอน, การดื่มน้ำ, การออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่) เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ข้อมูลตลอดเวลาที่ใช้งานแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยที่ 4.4 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.69 ถือว่าอยู่ในระดับดี, ค่าเฉลี่ยของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และแอปพลิเคชันทางด้านสุขภาพ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล ในการแจ้งเตือนผู้ใช้งานเกี่ยวกับสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.3 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.78 ถือว่าอยู่ในระดับดี และค่าเฉลี่ยของการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพย้อนหลังเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีข้อมูลสุขภาพอยู่กับตัวตลอดเวลา และนำข้อมูลนี้คอยแจ้งเตือน เพื่อให้ดูแลสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.4 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.75 ถือว่าอยู่ในระดับดี ส่วนที่ 2) การแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ผลการวิจัยพบว่า าเฉลี่ยของการสามารถชวนคนที่รัก เพื่อน หรือคนในครอบครัว มาเป็นคนรู้ใจ (Mate) เพื่อช่วยกันแจ้งเตือน เพื่อดูแลสุขภาพกันได้ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.2 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.79 ถือว่าอยู่ในระดับดี และ ค่าเฉลี่ยของการสามารถแบ่งปันข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของตัวเอง ให้กับ Mate รับรู้ เพื่อช่วยให้เกิดการตั้งค่าให้แจ้งเตือนได้ เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ หรือการตักเตือน เมื่อมีการทำพฤติกรรมเสี่ยงเช่น ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.3 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.79 ถือว่าอยู่ในระดับดี และ ส่วนที่ 3) การแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสินค้าเพื่อสุขภาพ (Market Place) ผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของการสามารถได้รับส่วนลดพิเศษจากการสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชัน เมื่อมีการดูแลสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.2 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.89 ถือว่าอยู่ในระดับดี
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1993
Appears in Collections:College of Social Communication Innovation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130234.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.