Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1989
Title: PACKAGING DESIGN AND DEVELOPMENTFOR KHAO LEUANG PATEW CHUMPON
การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเหลืองปะทิวจังหวัดชุมพร
Authors: TASSAPHOL PHUENGPHOL
ทัศน์พล พึ่งผล
Saowaluck Phanthabutr
เสาวลักษณ์ พันธบุตร
Srinakharinwirot University
Saowaluck Phanthabutr
เสาวลักษณ์ พันธบุตร
saowaluck@swu.ac.th
saowaluck@swu.ac.th
Keywords: บรรจุภัณฑ์
ข้าวเหลืองปะทิว
ชุมพร
packaging
Khao leuang patew Chumpon
design
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is the packaging design and development for Khao Leuang Patew Chumpon and aims to identify the factors that may be of use for improving currently used packages for the product. First and foremost, the researcher divided the procedure into five different sections. Step One was to collect the issues and recommendations from the surveys and the results concluded that Khao Leuang Patew Chumpon is usually sold only to the locals, suggesting how narrow the market for this product is. Step Two describes the development of the packaging by solving the problem of old packaging. In order to collect the data from a group of working people whose age is between 20 and 55, the researcher provided four different types of packaging for them to choose which they preferred. Step Three is an evaluation of Step Two. The results of the survey gave rise to the second, which is one with colorful decorations, contrary to the other three. It could be seen as people believe that the main contribution to their decision was mostly based on the application on the labelling, that each decoration and product description would allow them to choose the product deliberately. They also suggested that the story of Chumphon Province as being the origin of Khao Leuang Patew be mentioned briefly on the product. Therefore, the researcher conducted Step Four; by picking the aforementioned package and adding the recommended details. Step Five, the last step, is a final evaluation Several experts agreed that new packaging that exhibits its factors that will lead to it being sold to a larger group of people, as well as being more persuasive within the same group of products on the market.
ผลงานวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเหลืองปะทิวจังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆที่ควรใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเหลืองปะทิวจังหวัดชุมพร และเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเหลืองปะทิวจังหวัดชุมพร โดยวิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่1 ศึกษาปัญหาและเก็บข้อมูลแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สำหรับข้าวเหลืองประทิว จังหวัดชุมพร จากการลงพื้นที่และเก็บข้อมูลพบว่าปัญหาหลักของบรรจุภัณฑ์ข้าวเหลืองปะทิวจังหวัดชุมพรคือเรื่องกลุ่มลูกค้าที่สามารถขายได้เพียงกลุ่มเดียวคือคนในชุมชน การแก้ปัญหาจึงนำไปสู่ ขั้นตอนที่2 พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเหลืองปะทิว โดยใช้แนวทางการออกแบบจากการแก้ปัญหาของบรรจุภัณฑ์แบบเดิม คือการขยายกลุ่มเป้าหมาย ขยายเป็นกลุ่มคนวัยทำงานอายุ 20-55 โดยมีรูปแบบที่พัฒนามา 4 แบบ เพื่อนำไปทดสอบความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนามาขั้นต้นกับกลุ่มเป้าหมายใน ขั้นตอนที่3 จากผลวิจัยในขั้นตอนที่3พบว่า แบบที่ได้คะแนนจากแบบสอบถามของกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุดคือแบบที่ 2 โดยกลุ่มเป้าหมายให้เหตุผลไปในแนวทางเดียวกันว่ามีลวดลายและสีที่ดึงดูดสายตาและการจัดองค์ประกอบดูน่าสนใจมีเรื่องราว สอดคล้องกับความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่เลือกแบบที่2 โดยให้เหตุผลไปในแนวทางเดียวกันว่า รูปแบบที่2สามารถเข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้ และควรใช้เรื่องราวของชุมพรเป็นจุดขาย ผู้วิจัยจึงได้เลือกนำบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่2 มาแก้ไขและพัฒนาต่ออีกขั้นจากข้อเสนอแนะของกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เสนอว่าควรใส่ข้อมูลให้ชัดเจนครบถ้วนและปรับให้ทันสมัยเข้ากับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นในขั้นตอนที่4 และนำไปประเมินผลกับผู้เชี่ยวชาญหลังการปรับปรุงและพัฒนา ในขั้นตอนที่5 ผลการประเมินพบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น ตรงตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขปัญหาของบรรจุภัณฑ์แบบเดิมได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1989
Appears in Collections:College of Social Communication Innovation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130202.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.