Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1988
Title: CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF PREVENTIVE BEHAVIOR FOR CORONAVIRUS DISEASE 2019 AMONG WORKING AGE PEOPLE IN THE BANGKOK METROPOLITAN AREA
แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
Authors: NUTTAPON THEEMWAN
ณัฐพล เทียมวัน
Kanchana Pattrawiwat
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์
Srinakharinwirot University
Kanchana Pattrawiwat
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์
kanchanapa@swu.ac.th
kanchanapa@swu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
เจตนาในการกระทำพฤติกรรม
การประเมินการเผชิญปัญหา
Preventive behaviors for COVID-19
Behavioral intention
Coping appraisal
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research was to develop and investigate the causal relationship model of preventive behaviors for coronavirus disease (COVID-19) among working age people in the Bangkok metropolitan area with the empirical data. The sample consisted of 360 working age people in the Bangkok metropolitan area and stratified random sampling was used. A questionnaire was used in the collection of data that passed quality checking by content validity, consisting of corrected item total correlation and reliability. Moreover, construct validity with confirmatory factor analysis and convergent validity were as follows: composite reliability and average variance extracted. The Structural Equation Modeling analyzed the maximum likelihood estimation method. The results revealed the following: x2 = 74.14, df = 31, x2/df = 2.392, p = <.001, RMSEA = 0.062, SRMR = 0.056, GFI = 0.97, AGFI = 0.92, CFI = 0.99. The results of the most important path coefficient indicated the following: (1) intentions to prevent COVID-19 behaviors had a direct effect on preventive behaviors; (2) threat appraisal had a direct effect on preventive behaviors for COVID-19; (3) coping appraisal had a direct effect on intentions to prevent COVID-19 behaviors and had a direct and indirect effect on preventive behaviors was mediated by intentions to prevent COVID-19; (4) attitudes toward preventive behaviors for COVID-19 had a direct effect on intentions to prevent COVID-19 behaviors included had an indirect effect on the preventive behaviors for COVID-19; and (5) social norms had a direct effect on intentions to prevent COVID-19 behaviors, and this factor had a direct and indirect effect on preventive behaviors mediated by intentions to prevent COVID-19 behaviors. The Causal Relationship Model explains preventive behaviors for COVID-19 by 64%. The findings suggested public health or relevant institution to develop guidelines for disease control prevention with the supportive formation of intentions and COVID-19 behaviors.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพด้วยความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และความเที่ยงเชิงลู่เข้าด้วยค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง ค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่สกัดได้ และวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการประมาณค่าแบบ Maximum Likelihood (ML) ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ x2 = 74.14,  df = 31, x2/df = 2.392, p = <.001, RMSEA = 0.062, SRMR = 0.056, GFI = 0.97, AGFI = 0.92, CFI = 0.99 เมื่อพิจารณาค่าอิทธิพลเส้นทางพบว่า 1) เจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2) การประเมินภัยคุกคาม มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 3) การประเมินการเผชิญปัญหา มีอิทธิพลทางตรงต่อเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา รวมทั้งมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยผ่านเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 4) เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนามีอิทธิพลทางตรงต่อเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา รวมทั้งมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยผ่านเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกัน เเละ 5) บรรทัดฐานทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และมีอิทธิพลทั้งทางตรง รวมถึงทางอ้อมต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยผ่านเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสามารถอธิบายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ร้อยละ 64 จากข้อค้นพบจึงเสนอแนะต่อหน่วยงานด้านสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ร่วมกับปัจจัยสนับสนุนการเกิดเจตนาในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1988
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130409.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.