Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1987
Title: DEVELOPMENT OF SCALE AND EFFECTIVENESS OF PROGRAMFOR ENHANCING SELF-TRANSFORMATIONAL LEADERSHIPOF MEDICAL REPRESENTATIVE IN THAILAND
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทย
Authors: ATTADECH UNHALEKKA
อรรถเดช อุณหเลขกะ
Polthep Poonpol
พลเทพ พูนพล
Srinakharinwirot University
Polthep Poonpol
พลเทพ พูนพล
polthep@swu.ac.th
polthep@swu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเอง
ผู้แทนยา
ประสิทธิผลของโปรแกรม
Self-Transformational Leadership
Medical Representatives
Program Effectiveness
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are as follows: (1) to explore the meaning of the self-transformational leadership of medical representatives in Thailand (sTFL); (2) to develop an sTFL scale; (3) to develop an sTFL enhancing program; and (4) to study the effectiveness of an sTFL enhancing program. This research employed an intervention design of the mixed methods research. The qualitative study was conducted to explore the meaning of sTFL by in-depth interviews with four experts on the career paths of medical representatives and seven medical representatives in Thailand. The results showed that there were four components of sTFL: self-idealized influence, self-inspirational motivation, self-intellectual stimulation, and individualized consideration. Then, the sTFL scale was developed and based on the qualitative results and distributed to 347 medical representatives in Thailand. The Cronbach’s alpha coefficient of this scale was .918. The results of confirmatory factor analysis revealed that sTFL measurement model required all four components to measure the latent variables and was consistent with the empirical data (Chi-square = 1465.57, df = 523, RMR = 0.031, SRMS = 0.072, RMSEA = 0.072, and NFI = 0.90). Next, the effectiveness of the development and study of the of sTFL enhancing program was assessed by 40 medical representatives. The first group of 20 medical representatives received the program, while the other group did not. The quantitative data was collected using the sTFL scale developed in the previous phase. The results demonstrated that the sTFL of medical representatives who received the program were increased and had a statistical significance of .05 when compared to the (1) posttest and pretest and (2) follow up, one month after the program and the posttest.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทย 2) เพื่อสร้างแบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทย เป็นการวิจัยผสานวิธีแบบทดลอง ในขั้นแรกดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในสายงานผู้แทนยาจำนวน 4 ท่าน และผู้แทนยาจำนวน 7 ท่าน ผลการศึกษาพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทยมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีอิทธิพลภายในตนเองอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจภายในตนเอง การกระตุ้นภายในตนเองทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล จากนั้นผู้วิจัยได้พัฒนาแบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทยขึ้นจากผลการศึกษาในขั้นแรก นำไปเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับผู้แทนยาในประเทศไทยจำนวน 347 คน วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับได้เท่ากับ .918 และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า แบบจำลองการวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทยที่กำหนดให้องค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน วัดตัวแปรแฝงร่วมกันสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 1465.57, df = 523, RMR = 0.031, SRMS = 0.072, RMSEA = 0.072 และ NFI = 0.90) ต่อมาผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทยขึ้นและนำไปศึกษาประสิทธิผลในกลุ่มผู้แทนยาจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม 20 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม 20 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดที่พัฒนาขึ้นที่ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลการทดลองเมื่อผ่านไป 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ผู้แทนยาที่ได้รับโปรแกรมมีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบ 1) ที่ระยะหลังการทดลองกับก่อนการทดลอง และ 2) ที่ระยะติดตามผลการทดลองกับหลังการทดลอง ในขณะที่ผู้แทนยาในกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมมีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้แทนยาในประเทศไทยไม่แตกต่างไปจากเดิม
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1987
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150091.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.