Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1978
Title: LIFE PATHS AND ROLES OF PEER OUTREACH WORKER FOR DRUG USERS :  CASE STUDY WITH LIFE HISTORY 
เส้นทางชีวิตและบทบาทการเป็นอาสาสมัครแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อผู้ใช้ยาเสพติด การศึกษารายกรณีด้วยวิธีประวัติชีวิต
Authors: PWIN PHUTHANAPATMAETA
ปวิณณ์ ภูธนพัฒน์เมธา
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
Srinakharinwirot University
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
thasuk@swu.ac.th
thasuk@swu.ac.th
Keywords: อาสาสมัครเชิงรุก
การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด
การศึกษารายกรณี
Peer Outreach Workers
Drug users
Case Study
Life History
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are to understand the life paths of outreach workers, who turned their lives around from being drug users to providing harm reduction services. This study also seeks to understand the meaning, context and success factors relevant to peer-to-peer outreach work. This qualitative research was accomplished by employing a case study with a life history interview, in-depth interviews and a focus group with key informants who consisted of five peer outreach workers and two supervisors. The findings revealed that family, friends, environment, curiosity and lack of knowledge of drug use led them to becoming drug users. Their income and increased price of drugs also triggered them to start injecting drugs, leading to unsafe drug use, lack of occupation, illegal activities and prison. The drug users in this study entered a peer outreach role influenced by career path and income and the most important factor was to help their peers. The success factors of outreach worker are as follows: (1) moral support from colleagues and support systems that understand the way of life of drug users; (2) acceptance and opportunity; (3) optimism; and (4) applying the experience of drug users to provide appropriate services for their peers.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเส้นทางชีวิตของอาสาสมัครเชิงรุกจากการเป็นผู้ใช้ยาเสพติดสู่การเป็นผู้ให้บริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดและทำความเข้าใจความหมายและบริบทการทำงานในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จของการทำงานอาสาสมัครเชิงรุก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ประวัติชีวิตและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คืออาสาสมัครเชิงรุกจำนวน 5 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลรอง คือหัวหน้างานจำนวน 2 คน ผลการวิจัยเกี่ยวกับเส้นทางชีวิตพบว่าปัจจัยด้านครอบครัว เพื่อน สภาพแวดล้อมในชุมชน ความอยากรู้อยากลองและการรู้ไม่ทันภัยยาเสพติดส่งผลให้ชีวิตหันเหเข้าสู่การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ปัจจัยด้านรายได้และราคายาเสพติดที่สูงขึ้นส่งผลให้ชีวิตเปลี่ยนสู่การเป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีดซึ่งนำไปสู่การใช้ยาเสพติดไม่ปลอดภัย การไม่มีอาชีพและการติดยาเสพติดทำให้เข้าสู่การทำผิดกฎหมายและการเข้าสู่เรือนจำ  สำหรับเส้นทางชีวิตสู่การเป็นอาสาสมัครเชิงรุกมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นผู้รับบริการและถูกชักชวนให้ทำงานอาสาสมัครเชิงรุก โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการตัดสินใจคือ อาชีพและรายได้ รวมถึงมีความสนใจและต้องการเป็นอาสาสมัครเพื่อให้บริการเพื่อนผู้ใช้ยาเสพติด สำหรับเงื่อนไขความสำเร็จของการเป็นอาสาสมัครเชิงรุก ได้แก่ 1) กำลังใจจากเพื่อนร่วมงานและระบบสนับสนุนที่เข้าใจวิถีชีวิตของผู้ใช้ยาเสพติด 2) พื้นที่แห่งการยอมรับและให้โอกาส 3) การมองโลกในแง่ดี 4) การนำประสบการณ์การเป็นผู้ใช้ยามาปรับใช้ในการให้บริการ  
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1978
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130239.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.