Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1976
Title: DEVELOPMENT PROCESS FOR ATTRIBUTE OF STUDENTS BY USING TRAINING THAI PERFORMING ARTS KHON’S SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY PRASARNMIT DEMONSTRATION SCHOOL: GROUNDED THEORY
กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนผ่านการฝึกหัดโขน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร: การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล 
Authors: NATCHANA BHUTASANG
ณัฐชนา พุทธแสง
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
Srinakharinwirot University
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
thasuk@swu.ac.th
thasuk@swu.ac.th
Keywords: คุณลักษณะของนักเรียน
การฝึกหัดโขน
วิธีวิทยาสร้างทฤษฎีจากข้อมูล
ทฤษฎีหักด่าน
Student attributes
Khon
Thai performing arts
Grounded Theory
Hakdan theory
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are as follows: (1) to explain the process of the development of the attributes of students who have trained in the Thai performing art of Khon; (2) to explain the attributes of students who have trained in Khon; and (3) to construct grounded theory from process related to the development of attributes of students who have trained in Khon at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School. This study used grounded theory and a case study to explore this phenomenon. The key informants were three categories: (1) The 11 elementary students and 10 secondary students who practiced Khon; (2) the four teachers elementary and five secondary school teachers who trained students in Khon as Khonpra, Khonnark, KhonYak, and Khonling; and (3) the participants were 11 parents of elementary students and 10 parents of secondary students, used for non-participant observation and semi-independent interviews and data collection. The results found that the main process of attribute development had three phases: (1) before the show phase, this phase began with (1.1) enrollment in Khon training; (1.2) teaching the culture of Khon; (1.3) meetings about Khon shows; and (1.4) training courses to develop skills and abilities; (2) the presentation of the show phase included: (2.1) pre-show preparation; and (2.2)  presentation of the show; and (3) the after show phase included: (3.1) respect to Kru Khon and apologies for the show; (3.2) respect for the team; and (3.3) reflex learning outcomes of the show. The attributes of students following Khon training were as follows: (1) team work; (2) fixing negative situations; (3) perceived value; and (4) personality. The grounded theory was “Hakdan theory”. Dan was an event that happens during Khon training. Hakdan will happen when students learn and complete three steps: (1) make attributes; (2) develop attributes; and (3) apply attributes in real life by evaluation, modification and development.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) อธิบายกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน ผ่านการฝึกหัดโขน 2) ค้นหาและอธิบายคุณลักษณะของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการฝึกหัดโขน และ3) สร้างทฤษฎีจากข้อมูล ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน ผ่านการฝึกหัดโขน ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โดยดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลมาศึกษากระบวนการทางสังคมในการพัฒนาหรือสร้างทฤษฎีจากกระบวนการฝึกหัดโขนของนักเรียน ผสมผสานวิธีการวิจัยแบบกรณีศึกษา ในการเลือกพื้นที่หรือสนามในการวิจัยที่ใช้ทำการศึกษา รวมไปถึงนำมาอธิบายและสนับสนุนข้อค้นพบในกลุ่มตัวอย่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักเรียนที่มีประสบการณ์ฝึกโขน ระดับประถมศึกษา จำนวน 11 คนและมัธยมศึกษา จำนวน 10 คน 2) คุณครูในหลักสูตรที่ดูแลรับผิดชอบฝึกโขน ประกอบด้วย ครูโขนพระ ครูโขนนาง ครูโขนยักษ์ และครูโขนลิง ระดับประถมศึกษาจำนวน 4 คนและระดับมัธยมศึกษาจำนวน 5 คน  3) ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีประสบการณ์การในการฝึกโขน ระดับประถมศึกษาจำนวน 11 คนและระดับมัธยมศึกษาจำนวน 10 คน รวมเป็น 51 คน ใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ร่วมกับการการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการหลักของการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนฝึกหัดโขนมีทั้งสิ้น 3 ระยะหลัก ได้แก่ ระยะที่ 1 ก่อนการแสดง ประกอบด้วย 1.1) การเปิดรับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตร 1.2) การจัดการเรียนการสอนและถ่ายทอดแนวคิดประเพณีปฏิบัติของกลุ่ม 1.3) การวางแผนประชุมเพื่อจัดกิจกรรมแสดงโขนประจำปี 1.4) กระบวนการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถของตนเอง ระยะที่ 2 ระยะการแสดง ประกอบด้วย 2.1) การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นแสดงบนเวที 2.2) การแสดงบนเวที ระยะที่ 3 ระยะหลังการแสดง ประกอบด้วย 3.1) การไหว้ครูโขนเพื่อขอขมาลาโทษ 3.2) การแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน 3.3) การทบทวนและถอดบทเรียนหลังการแสดง และนักเรียนเกิดคุณลักษณะจากการฝึกหัดโขน 4 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) การทำงานเป็นทีม 2) การจัดการสถานการณ์เชิงลบ 3)การรับรู้คุณค่า และ 4)บุคลิกภาพและอุปนิสัย นำมาสู่การพัฒนาทฤษฎีจากข้อมูลในครั้งนี้เรียกว่า “ทฤษฎีหักด่าน” ซึ่งด่านในที่นี่เปรียบเสมือนสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการฝึกโขน การหักด่านได้นั้นนักเรียนจะเกิดการปฏิบัติใน 2 ร. 2 ล. ได้แก่ 1) 2 ร. คือ เรียนรู้ รวบรวม 2) 2 ล. คือ ลอง และ ลุล่วง โดยอธิบายผ่าน 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นตอนการสร้างคุณลักษณะ 2) ขั้นตอนการพัฒนาคุณลักษณะ และ 3) ขั้นตอนการประยุกต์คุณลักษณะเข้ากับวิถีชีวิต โดยการประเมิน ปรับปรุงและพัฒนา
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1976
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601120049.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.