Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1975
Title: CAUSAL RELATIONSHIP MODEL AND EFFECTS OF LEARNING ACTIVITIES TO DEVELOP THE TEAMWORK BEHAVIOR OF PRIMARY STUDENTS AT EDUCATIONAL SERVICE AREA, ROI-ET 3 
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 
Authors: NUENGRUETAI MALAWAI
หนึ่งฤทัย มะลาไวย์
Narisara Peungposop
นริสรา พึ่งโพธิ์สภ
Srinakharinwirot University
Narisara Peungposop
นริสรา พึ่งโพธิ์สภ
narisarap@swu.ac.th
narisarap@swu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
ปัจจัยเชิงสาเหตุ
นักเรียนประถมศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้
teamwork behavior
causal factors
primary students
learning activities
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to study the causal factors and the effects of learning activities to develop the teamwork behavior of primary students at educational service area, Roi-Et 3. This study consisted of two research phases. In the first phase, the sample consisted of 360 students. Questionnaires were used for data collection. The structural relationship analysis after the model modification indicated the model fit. The results showed that emotional intelligence, teamwork motivation, social support of teachers, attitudes towards teamwork behavior and the self-efficacy of teamwork had an influence on teamwork behavior. Then, the use of variables had a significant influence on the first phase and developed to enhance learning activities for developing teamwork behavior. The second phase was quasi-experimental research. The samples were students in the same group in the first phase of the research. There were 42 students, divided into an experimental group and a control group. The experimental group received a learning activity for developing teamwork behavior. The results showed that the students who participated in learning activities for developing teamwork behavior may have higher results than the control group during the post-test and follow-up period of one month had a statistical significance of .05. The implications of the study were the development of the teamwork behavior of primary students.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือการวิจัยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 360 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจในการทำงานเป็นทีม เจตคติต่อพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม การสนับสนุนทางสังคมของครู มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมอย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นนำตัวแปรทางจิตที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในระยะที่ 1คือ ความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจในการทำงานเป็นทีม และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงานเป็นทีม ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือมาพัฒนาเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนกลุ่มเดียวกันกับการวิจัยในระยะที่ 1 สุ่มเลือก 1 โรงเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือกิจกรรมจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมจะมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักเรียนสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการทดลองและในระยะติดตามผล 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งข้อค้นพบจะเป็นประโยชน์สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักเรียนต่อไป
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1975
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591150047.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.