Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1942
Title: ADAPTION PROCESS AND MEANINGFUL REPRESENTATION OF HINDU SCULPTURES IN BANGKOK
การสื่อความหมายผ่านงานประติมากรรมของศาสนาฮินดูในกรุงเทพมหานคร
Authors: WATTANAWUT CHANGCHANA
วัฒนวุฒิ ช้างชนะ
CHAKAPONG PHATLAKFA
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า
Srinakharinwirot University
CHAKAPONG PHATLAKFA
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า
chakapon@swu.ac.th
chakapon@swu.ac.th
Keywords: เทวรูป
เทพเจ้าในศาสนาฮินดู
ประติมานวิทยา
สัญวิทยา
Sculpture
Hindu god
Iconography
Semiology
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the adaption process and meaningful representation of Hindu sculptures in Bangkok by using qualitative research. The information was gathered by qualitative methods, which consisted of interviews, observation, and documentation. The research findings found that the characteristics of the iconography of the Gods and beliefs were different, and depended on the popularity of each location. For instance, Indian art was one style and Thai art was another. Therefore, the sculptures of the Gods were different, even if they were from beliefs that were in the same location. In terms of semiology, it was found that the sculptures of Gods of Hinduism held various things; therefore, they had multiple hands. This represented the qualification of each God, a symbol that had meaning inside. The general principle of the symbol in the sculptures of Gods consisted of three main factors, as follows: (1) weapons were used to fight evil; (2) flowers, trees, and seedlings represented fertility; and (3) a string of beads, scripture, and kettle (kalasha) represented the priesthood. In terms of impact on the way of life, it was found that even though Thais were mainly followers of Theravada Buddhism. However, Thai people respect and follow the beliefs of Hinduism because it is auspicious and Hindu beliefs are inextricably integrated into the way of life of people in Thai society and being changed little by little until it eventually became a part of Thai culture.
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา และลักษณะของงานประติมากรรมของศาสนาฮินดูที่ปรากฏในวัดหรือเทวสถานฮินดูในกรุงเทพมหานคร และศึกษาประติมากรรมที่สื่อความหมายทางความเชื่อของศาสนาฮินดูในกรุงเทพมหานคร รวมถึงผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้ศรัทธาในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) และการรวบรวมเอกสาร (Documentation) ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประติมานวิทยาของเทวรูปและคติความเชื่อจะแตกต่างกันไปตามความนิยม และความเชื่อถือของกลุ่มชนแต่ละถิ่น กล่าวคือ ศิลปะของอินเดียมีแบบฉบับเป็นของตนเอง ส่วนศิลปะของไทยมีการดัดแปลงเป็นของไทย เทวรูปที่พบจึงมีความแปลกแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ความเชื่อถือมาจากที่เดียวกัน ในด้านสัญวิทยา พบว่าเทพเจ้าของศาสนาฮินดูจะถือของที่หลากหลาย ทำให้มีหลายพระกรตามไปด้วย อันจะแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของเทพเจ้าองค์นั้น ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายที่ซ่อนอยู่ข้างใน โดยหลักการทั่วไปของสัญลักษณ์ที่ปรากฏในเทวรูป ประกอบด้วย 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) อาวุธ แทนการต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย 2) ดอกไม้ ต้นไม้ พืชพันธุ์ แทนความอุดมสมบูรณ์ และ 3) ของถือที่แสดงความเป็นนักพรต เช่น ประคำ คัมภีร์ และหม้อน้ำ สำหรับด้านผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิต พบว่า แม้คนไทยจะนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นหลัก แต่ก็ยังนับถือและปฏิบัติตามความเชื่อของศาสนาฮินดูไปด้วย เพราะเห็นเป็นเรื่องที่ดีและเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิต ดังนั้นคติความเชื่อแบบฮินดูจึงสอดแทรกอยู่ในวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมไทยอย่างแยกกันไม่ออก และถูกเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยจนในที่สุดก็กลายเป็นวัฒนธรรมแบบไทย
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1942
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591150038.pdf14.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.