Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1928
Title: PERSONAL AND MOTIVATIONAL FACTORS AFFECTING DIGITAL COMPETENCY IN TEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE NAKHON PATHOM AND SUPHANBURI
ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี
Authors: NATTARAT PADUNGTIN
ณัฐรัตน์ ผดุงถิ่น
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
Srinakharinwirot University
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantarat@swu.ac.th
jantarat@swu.ac.th
Keywords: ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยแรงจูงใจ
สมรรถนะดิจิทัล
ครู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี
Personal factors
Motivational factors
Digital competency
Teacher
The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom And Suphanburi
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the digital competency levels of teachers under the authority of the Secondary Education Service Area Offices of Nakhon Pathom and Suphanburi; (2) to study the motivational factors and levels of teachers and educational institutions under the authority of Secondary Education Service Area Offices of Nakhon Pathom and Suphanburi; (3) to study the relationship between personal and motivational factors and the digital competency levels of teachers; (4) to study the  personal  and motivational factors affecting the digital competency levels of teachers. The sample consisted of 352 teachers in educational institutions under the authority of the Secondary Education Service Area Offices of Nakhon Pathom and Suphanburi. The instrument used for data collection was a five-point Likert scale questionnaire with IOC scores over 0.50 and the reliability value of the questionnaire was 0.99. The reliability value of the attitudes of teachers toward technology was at 0.90. The reliability value of motivational factors of teachers is 0.95, and the reliability value of the digital competency of teachers was 0.99. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, the Pearson correlation coefficient and multiple regression analysis-enter method. The results were as follows: (1) digital competency levels of the teachers were at a high level. Each aspect was found to be at a high level. The highest average value was in the aspect of assessment. The following included digital resources. The lowest average value is in the aspect of facilitating the digital competence of the learners; (2) the levels of motivational factors were at a high level. The highest average value was in the aspect of the relationship between teachers. The following aspect was in career progress. The lowest average value was reward; (3) personal factors correlated with the digital competency of teachers was at a high level (r = 0.78), statistically significant at a level of .05 and motivational factors that correlates with the digital competency of teacher's were at a statistically moderate level of .05 (r = 0.63); and (4) personal and motivational factors were statistically significant at a level of .05 and could jointly predict digital competency at 71.3%. 
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจกับสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี รวมทั้งสิ้น 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 โดยได้ค่าความเชื่อมั่นของปัจจัยด้านทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครูเท่ากับ 0.90 ค่าความเชื่อมั่นของปัจจัยแรงจูงใจของครูเท่ากับ 0.95 และค่าความเชื่อมั่นของสมรรถนะดิจิทัลของครูเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะดิจิทัลของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมิน รองลงมา คือ ด้านการใช้ทรัพยากรดิจิทัล ในขณะที่ด้านการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีสมรรถนะดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) ปัจจัยแรงจูงใจของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร รองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ถัดมาคือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ในขณะที่ด้านการให้รางวัล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3) ปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะดิจิทัลของครู มีความสัมพันธ์โดยรวมทางบวกอยู่ในระดับสูง (r = 0.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยแรงจูงใจกับสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี มีความสัมพันธ์โดยรวมทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถพยากรณ์สมรรถนะครูได้สูงสุด ในส่วนของปัจจัยแรงจูงใจด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูสูงสุด
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1928
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130011.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.