Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1924
Title: COMPETENCY-BASED ACTIVE LEARNING MANAGEMENT AFFECTING LEARNERS' COMPETENCIES IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BANGKOK 2 
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Authors: SUPALAI SAIKUMPA
สุภาลัย สายคำภา
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
Srinakharinwirot University
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
theeraphab@swu.ac.th
theeraphab@swu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก, สมรรถนะผู้เรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
competency-based active learning management
The Office of The Secondary Educational Service Area Bangkok Area 2
Office of the Secondary Educational Service Area Bangkok Area 2
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the level of competency-based active learning management; (2) to study the level of learner competencies; (3) to study the relationship between competency-based active learning management and learner competencies; and (4) to study competency-based active learning management affecting learner competencies. The samples in this research consisted of 361 administrators and teachers under the Office of the Secondary Educational Service Area, Bangkok Area 2. The instrument used in the research was a five-level estimation scale questionnaire. The confidence of competency-based active learning management is .972, and the confidence value of learner competencies is .951. The data analysis of the data use was mean and standard deviation. The tests of hypothesis used Pearson product-moment correlation coefficient, multiple correlation and Multiple Regression Analysis-Enter Method. The research results were as follows: (1) the overall competency-based active learning management was at a high level in all aspects. The order of averages from greatest to least was the determination of competencies needed to develop learners, the consideration of the contents, curriculum-based learning contents and indicators consistent with competencies, designing a competency-enhancing learning management plan, evaluations with an emphasis on real conditions and responding to the objectives, determination of objectives and comprehensive competency activities with an emphasis on proactive teaching; (2) learner competencies were at a high level in all aspects. The order of averages from greatest to least was the ability to use technology, the ability to communicate, the ability to think, the ability to use life skills and the ability to solve problems; (3) competency-based active learning management was related to learner competencies. It was statistically significant at a .001 level with a correlation coefficient (r) =  .439 - .710. (4) competency-based active learning management can predict learner competencies in all aspects, together predicted 55.90%. The best order predictable aspect was evaluation emphasizing real conditions and responding to objectives, determination of competencies that need to develop learners, designing a competency-enhancing learning management plan, determination of objectives and comprehensive competency activities with an emphasis on proactive teaching and designing a competency-enhancing learning management plan.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  4) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครู สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 361 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นชั้นจากนั้นสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.80 –1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก เท่ากับ .972 และค่าความเชื่อมั่นสมรรถนะของผู้เรียน เท่ากับ .951 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ  ด้านการกําหนดสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน ด้านการพิจารณาเนื้อหา สาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรและตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับสมรรถนะ ด้านการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการประเมินผลโดยเน้นสภาพจริง และตอบรับวัตถุประสงค์ และด้านการกําหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรมให้ ครอบคลุมสมรรถนะโดยเน้นการสอนเชิงรุก ตามลําดับ 2) สมรรถนะของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  ด้านความสามารถในการใช้ด้านความสามารถในการสื่อสาร ด้านความสามารถในการคิด  ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และด้านความสามารถในการแก้ปัญหา 3) การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .439 ถึง .710 4) การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยรวมส่งผลต่อสมรรถนะของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกทุกด้านร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะของผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ได้ร้อยละ 55.90  ซึ่งด้านที่สามารถทํานายได้ดีที่สุด คือ การประเมินผลโดยเน้นสภาพจริง และตอบรับวัตถุประสงค์  รองลงมาคือ การกําหนดสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน  การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะ การกําหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรมให้ ครอบคลุมสมรรถนะโดยเน้นการสอนเชิงรุก ตามลําดับ และด้านที่สามารถทํานายได้น้อยที่สุด คือ การพิจารณาเนื้อหา สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับสมรรถนะ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1924
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110057.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.