Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1917
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWACHIRAYA MANEEWANen
dc.contributorวชิรญาณ์ มณีวรรณth
dc.contributor.advisorApitee Songbundit rtn.en
dc.contributor.advisorอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์th
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2023-02-08T06:45:37Z-
dc.date.available2023-02-08T06:45:37Z-
dc.date.created2022
dc.date.issued27/5/2022
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1917-
dc.description.abstractThe purposes of this research are as follows: (1) to study the level of the teacher burnout among teachers under the authority of the Secondary Educational Service Area Office Two, Bangkok; (2) to study the status of the transformational leadership of the principles; (3) to study the relationship between transformational leadership, job characteristics, organizational characteristics, big five personality traits and teacher burnout; (4) to study transformational leadership, job characteristics, organizational characteristics, and big five personality traits affecting teacher burnout. The samples included 357 teachers under the authority of the Secondary Educational Service Area Office Two, Bangkok, and employing the theories of Krejcie and Morgan. Then, stratified random sampling used the school size as strata to calculate the sample size and simple random sampling was performed via lottery. The instrument used for data collection was a five-point rating scale questionnaires, with an IOC was valued from 0.60–1.00, a total reliability of .913, the reliability of transformational leadership was .954, the reliability of job characteristics was .954, the reliability of organizational characteristics was .861, the reliability of big five personality traits was .908, and the reliability of teacher burnout was .928. The statistics used for data analysis included mean, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis-Enter Method. The results are as follows: (1) the overall mean score indicated an average level of teacher burnout. In terms of each aspect, physical exhaustion was founded to be the highest, followed by emotional exhaustion, depersonalization, and diminished personal accomplishment; (2) the overall mean score indicated an average level of transformational leadership. In terms of each aspect, moral leadership was the highest, followed by transformational leadership, and transactional leadership; (3) the relationship between transformational leadership, job characteristics, organizational characteristics, big five personality traits and teacher burnout was correlated, with a statistical significance of .01 and the correlation coefficients (r) of transformational leadership = .306, job characteristics = .408, organizational characteristics = .433, and big five personality traits = .473; (4) transformational leadership, job characteristics, organizational characteristics, and big five personality traits affected teacher burnout with a statistical significance of .01. The four factors could predict teacher burnout at 37.10%. The big five personality traits had the highest predictive power followed by organizational characteristics, job characteristics, and transformational leadership.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะหมดไฟของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (2) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ลักษณะงาน ลักษณะองค์กร และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของครู กับภาวะหมดไฟของครู และ (4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ลักษณะงาน ลักษณะองค์กร และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของครู ที่สามารถพยากรณ์ภาวะหมดไฟของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน  357 คน โดยกำหนดตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้น และสุ่มแบบง่าย โดยจับสลากตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .913 โดยได้ค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เท่ากับ .954 ค่าความเชื่อมั่นของลักษณะงานและลักษณะองค์กร เท่ากับ .861 ค่าความเชื่อมั่นของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของครูเท่ากับ .908 และค่าความเชื่อมั่นของภาวะหมดไฟของครูเท่ากับ .928 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสมการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับภาวะหมดไฟของครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความเหนื่อยล้าทางกาย ด้านความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ด้านทัศนคติเชิงลบต่อบุคคลรอบข้าง และด้านลดทอนศักยภาพตนเอง (2) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผู้นำแบบจริยธรรมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง และด้านผู้นำแบบแลกเปลี่ยน อยู่ในระดับปานกลาง (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ลักษณะงาน ลักษณะองค์กร และลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .306 ลักษณะงานมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .408 ลักษณะองค์กรมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .433 และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .473 และ (4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ลักษณะงาน ลักษณะองค์กร และลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบส่งผลต่อภาวะหมดไฟของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 4 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ภาวะหมดไฟของครูได้ร้อยละ 37.10 โดยปัจจัยบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ มีอำนาจการพยากรณ์สูงสุด รองลงมาได้แก่ ลักษณะองค์กร ลักษณะงาน และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ตามลำดับth
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectภาวะหมดไฟth
dc.subjectภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง,th
dc.subjectลักษณะงานth
dc.subjectลักษณะองค์กรth
dc.subjectบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบth
dc.subjectTeacher burnouten
dc.subjectTransformational leadershipen
dc.subjectJob characteristicsen
dc.subjectOrganizational characteristicsen
dc.subjectBig five personality traitsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleFACTOR AFFECTING TEACHER BURNOUT OF TEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE2 IN BANGKOKen
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต2th
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorApitee Songbundit rtn.en
dc.contributor.coadvisorอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์th
dc.contributor.emailadvisorapitee@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorapitee@swu.ac.th
dc.description.degreenameMASTER OF EDUCATION (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineDepartment Of Educational Administrationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130197.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.