Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1913
Title: HUMAN RESOURCES MANAGEMENT AFFECTING THE ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR OF TEACHERS IN ALTERNATIVE SCHOOLS IN BANGKOK METROPOLITAN AREA
อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรครูโรงเรียนทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: AMPAPORN JIRATHAM-OPAS
อำภาพร จิรธรรมโอภาส
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
Srinakharinwirot University
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
theeraphab@swu.ac.th
theeraphab@swu.ac.th
Keywords: การบริหารทรัพยากรมนุษย์
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ
โรงเรียนทางเลือก
Human resources management
Organizational Citizenship Behavior
OCB
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the level of human resources management (HRM) in alternative schools in Bangkok; (2) to study the level of organizational citizenship behavior (OCB) among teachers in alternative schools in Bangkok; (3) to study the relationship between human resources management and OCB; and (4) to study the aspects of human resources management affecting the OCB of teachers. The sample consisted of 234 teachers in four alternative schools in Bangkok in the 2021 academic year and used the work of Krejcie and Morgan. The stratified random sampling used simple random sampling and school size as strata to calculate the sample size. The instrument for data collection was a five-point rating scale questionnaire. The IOC (Index of Item-Objective Congruence) was valued at 0.8-1.0, the reliability of human resources management was .90, and the reliability of OCB was .93. The data analysis was performed by mean and standard deviation. The hypothesis testing used Pearson product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis-enter method. The results of this research are as follows: (1) the total level of HRM was at a high level. Each aspect was at a high level in all aspects in descending order: training and developing human resources, human resources planning, recruitment and selection, performance appraisal, and incentives; (2) the total level of OCB was at the highest level. For each aspect, conscientiousness and courtesy were at the highest level, and the others were at a high level in descending order: altruism, civic virtue, and sportsmanship; (3) there was a statistically significant positive relationship at .01 between HRM and OCB. The Pearson correlation coefficient (r)= .581 showed that the two variables had a relationship at a medium level; and (4) HRM affected OCB with a predictive power of 33.8%. The aspects had predictive power were training and developing human resources, performance appraisal and incentives.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานคร (2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูโรงเรียนทางเลือก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู และ (4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนทางเลือกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2564 จำนวน 234 คน กำหนดขนาดตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0  ค่าความเชื่อมั่นของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เท่ากับ .90 และค่าความเชื่อมั่นของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนทางเลือกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (2) ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพฤติกรรมความสํานึกในหน้าที่ และด้านพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ และพฤติกรรมความอดทนอดกลั้น ตามลำดับ (3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .581 (4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมสามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรครูได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับร้อยละ 33.8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 องค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การได้ 3 ได้แก่ การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทนและสิ่งจูงใจ โดยการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การได้ในระดับสูงสุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1913
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110074.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.