Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1901
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKORNKANOK WAREESUWANen
dc.contributorกรกนก วารีสุวรรณth
dc.contributor.advisorIttipaat Suwatanpornkoolen
dc.contributor.advisorอิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูลth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2023-02-08T06:45:35Z-
dc.date.available2023-02-08T06:45:35Z-
dc.date.created2022
dc.date.issued8/8/2022
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1901-
dc.description.abstractThis aims of this research are to study the indicators of grit among senior high school students under the authority of the Secondary Educational Service Area, Office Two, Bangkok, which led to situational grit scale construction and a quality assessment for senior high school students. The samples in the study on the grit indicators of senior high school students included three experts in educational psychology, three senior high school teachers, and five senior high school students with a high level of grit. The samples for scale quality assessment included 600 senior high school students, selected by two-stage random sampling. The research instruments included a semi-structured interview form to study the grit indicators of senior high school students and a situational grit scale for senior high school students under the authority of the Secondary Educational Service Area, Office Two, Bangkok. The findings revealed that grit indicators of senior high school students included two components and seven indicators, as follows: Component 1: Passion included three indicators, i.e., interest, purpose, and hope; and Component 2: Perseverance included four indicators, i.e., hardiness, intention, practice, and resilience. According to the results of situational grit scale quality assessment for senior high school students, it was found that index of item objective congruence (IOC) = 0.4-1.00, reliability = 0.73, and itemized discrimination = 0.14-0.39. According to the results of confirmatory factor analysis (CFA), the IOC was found in the situational grit scale construction for senior high school students. To clarify, relative Chi – Square (χ2 / df) = 0.80, goodness of fit index (GFI) = 1.00, adjusted goodness of fit index (AGFI) = 0.99, root mean square error of approximate (RMSEA) = 0.00, and standardized root mean square residual (RMR) = 0.02.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ Grit ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 เพื่อนำไปสู่การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด Grit แบบสถานการณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาตัวบ่งชี้ Grit ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษา 3 คน ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มี Grit อยู่ในระดับสูง 5 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 600 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับศึกษาตัวบ่งชี้ Grit ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 และแบบวัด Grit แบบสถานการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ผลการศึกษาพบว่า ตัวบ่งชี้ Grit ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 7 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ความรัก ความหลงใหล (Passion) มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ ความสนใจ (Interest), มีเป้าหมาย (Purpose) และ ความหวัง (Hope) 2) ความอุตสาหะ (Perseverance) มี 4 ตัวบ่งชี้ คือ ความอดทน (Hardiness), ความตั้งใจแน่วแน่ (Intention), การลงมือปฏิบัติ (Practice) และความสามารถในการฟื้นตนเอง (Resilience) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด Grit แบบสถานการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายพบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.4-1.00  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.73 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.14-0.39 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) พบว่า โมเดลการสร้างแบบวัด Grit แบบสถานการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค - สแควร์ สัมพัทธ์ (χ2  / df)  เท่ากับ 0.80 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.00 และดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.02th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectGritth
dc.subjectตัวบ่งชี้th
dc.subjectแบบวัดสถานการณ์th
dc.subjectGriten
dc.subjectIndicatoren
dc.subjectsituation scalesen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleTHE SITUATION SCALES CONSTRUCTION OF GRIT FOR SENOIR HIGH SCHOOL STUDENTSen
dc.titleการสร้างแบบวัด Grit แบบสถานการณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายth
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorIttipaat Suwatanpornkoolen
dc.contributor.coadvisorอิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูลth
dc.contributor.emailadvisorsan@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsan@swu.ac.th
dc.description.degreenameMASTER OF EDUCATION (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineDepartment Of Education Measurement And Research HEen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษาth
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130052.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.