Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1872
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | PUNJA CHUCHUAY | en |
dc.contributor | ปัญจา ชูช่วย | th |
dc.contributor.advisor | Surachai Meechan | en |
dc.contributor.advisor | สุรชัย มีชาญ | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University | en |
dc.date.accessioned | 2023-02-08T06:45:31Z | - |
dc.date.available | 2023-02-08T06:45:31Z | - |
dc.date.created | 2022 | |
dc.date.issued | 8/8/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1872 | - |
dc.description.abstract | The aims of this research are as follows: (1) to study the priority needs for research knowledge competency and learning management; (2) to develop a model of active learning management with coaching; and (3) to study the efficiency of model utilization. The research had three phases: (1) to study the priority needs for research knowledge and learning management on 177 student teachers with two sets of questionnaires with a reliability of .87 and .95; (2) to develop a model of active learning management with coaching; and (3) to study the efficiency of model utilization on 59 student teachers at Hatyai University through four sets of tools: a research knowledge test, a research attitude test, a research skill assessment form, and a satisfaction assessment form. The statistics used to analyze the data were mean, PNI modified, and MANOVA. The study revealed the following: (1) the priority needs for research knowledge competency and learning management of student teachers were as follows: (1.1) student teachers achieved priority needs for research knowledge competency using statistics and data analysis the highest, followed by conclusion and discussion, defining a problem and writing an introduction, having basic knowledge, and developing a methodology, respectively; and (1.2) the priority needs for learning management for student teachers who desired improvement the most were learning facilities, followed by instructional media, measurement and learning evaluation, running learning activities, and providing coaching, respectively: (2) the developed model contained eight structures: (1) background and importance; (2) principles; (3) characteristics; (4) objectives; (5) content structure; (6) learning management process, (7) efficiency evaluation, and (8) indication of achievement. There were seven steps for learning management: (1) exploring prior knowledge; (2) drawing attention; (3) surveying and providing coaching; (4) explaining, summarizing, and providing coaching; (5) expanding knowledge and providing coaching; (6) follow-up and providing coaching; and (7) making an evaluation. In terms of efficiency evaluation, the model was appropriate and practical; (3) the efficiency of the model utilization included: (3.1) a comparison of research knowledge competency, skills, and attitudes of the group treated with the model had a higher research competency than the group and received normal treatment at a statistically significant level of .05; and (3.2) the satisfaction of student teachers with the model overall and separately were averagely high. The developed model was effective and practical for developing the research competency of students. The student teachers commented that the model encouraged them to comprehensively understand the process of conducting research. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกับการให้คำชี้แนะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านความรู้ในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ 2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะ 3. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำปรึกษาชี้แนะ ซึ่งมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นด้านความรู้ในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 177 คน เครื่องมือวิจัย จำนวน 2 ฉบับ เป็นแบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านความรู้ในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และ .95 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะ ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ในการวิจัย แบบวัดเจตคติต่อการวิจัย แบบประเมินทักษะการวิจัย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNI modified t-test และ MANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านความรู้ในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มีดังนี้ 1.1 สมรรถนะด้านความรู้ในการวิจัยที่นักศึกษามีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะสูงที่สุดเป็นด้านสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย รองลงมาเป็นด้านการเขียนสรุปและอภิปรายผลการวิจัย ด้านการกำหนดปัญหาและการเขียนบทนำ ด้านความรู้เบื้องต้นของการวิจัย และด้านวิธีการดำเนินการวิจัย 1.2 ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ที่นักศึกษาความต้องการให้ดำเนินการปรับปรุงมากที่สุดเป็นด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รองลงมาเป็นสื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการให้คำชี้แนะ 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้การชี้แนะที่สร้างขึ้นมีโครงสร้าง 8 ส่วน ได้แก่ 1. ความเป็นมาและความสำคัญ 2. หลักการของรูปแบบ 3. ลักษณะของรูปแบบ 4. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 5. โครงสร้างเนื้อหา 6. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 7. การประเมินประสิทธิผล 8. สภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสำรวจความรู้เดิม ขั้นที่ 2 การสร้างความสนใจร่วมกับการให้คำชี้แนะ ขั้นที่ 3 การสำรวจค้นหาร่วมกับการให้คำชี้แนะ ขั้นที่ 4 อธิบาย สรุปผลร่วมกับการให้คำชี้แนะ ขั้นที่ 5 การขยายความรู้ร่วมกับการให้คำชี้แนะ ขั้นที่ 6 การติดตามผลร่วมกับการให้คำชี้แนะ ขั้นที่ 7 การประเมินผล ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ 3. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำปรึกษาชี้แนะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัย 3.1 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยด้านความรู้ ทักษะการวิจัย และเจตคติต่อการวิจัย พบว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะมีสมรรถนะการวิจัยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู ภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล โดยนักศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีทำให้เข้าใจกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างชัดเจนทุกขั้นตอน | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | รูปแบบ | th |
dc.subject | การเรียนรู้เชิงรุก | th |
dc.subject | การให้คำชี้แนะ | th |
dc.subject | สมรรถนะการวิจัย | th |
dc.subject | MODEL | en |
dc.subject | ACTIVE LEARNING | en |
dc.subject | COACHING | en |
dc.subject | RESEARCH COMPETENCY | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Education science | en |
dc.title | MODEL OF ACTIVE LEARNING MANAGEMENT WITH COACHING TO PROMOTE RESEARCH COMPETENCY FOR STUDENT TEACHERS AT HATYAI UNIVERSITY | en |
dc.title | รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการให้คำชี้แนะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัย ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ | th |
dc.type | Dissertation | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Surachai Meechan | en |
dc.contributor.coadvisor | สุรชัย มีชาญ | th |
dc.contributor.emailadvisor | surachaim@swu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | surachaim@swu.ac.th | |
dc.description.degreename | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | - | en |
dc.description.degreelevel | - | th |
dc.description.degreediscipline | Department Of Education Measurement And Research HE | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา | th |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601150025.pdf | 12.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.