Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1750
Title: | THE ACUTE AND CHRONIC EFFECTS OF DIFFERENT LOAD AND REPETITIONSOF RESISTANCE EXERCISE ON STRUCTURE AND FUNCTIONOF VASCULATURE IN ELDERLY การศึกษาผลฉับพลันและผลระยะยาวของการออกกำลังกายแบบเเรงต้านที่ความหนักและจำนวนครั้งเเตกต่างกันที่มีต่อโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของหลอดเลือดในผู้สูงอายุ |
Authors: | KITTIKA SARIKAWANIT กฤติกา สาริกะวณิช Witid Mittranun วิทิต มิตรานันท์ Srinakharinwirot University Witid Mittranun วิทิต มิตรานันท์ witid@swu.ac.th witid@swu.ac.th |
Keywords: | การออกกำลังกายแบบแรงต้าน ความหนัก จำนวนครั้ง การทำงานของหลอดเลือด ผู้สูงอายุ Resistance exercise Intensity repetition Vascular function Elderly |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of study is to compare the acute and long-term effects of resistance exercises of different lode and repetition of resistance exercises on vascular structure and function in elderly subjects. The samples consisted of elderly people aged 60 to 69. The study was divided into two studies: in Study 1, an acute effect study of 15 people, who performed three conditions of resistance exercise, high intensity and low repetition resistance, moderate intensity to moderate repetition resistance and low intensity and high repetition resistance exercise, compared to the vascular function parameters before and after, with four-time measure, flow-mediated dilatation (FMD) and immediate, 10 min, 30 min, 60 min. The results from Study 1 were then continued in Study 2 with 30 subjects in a case control study. This study was divided into two groups. The control group and the resistance exercise group for six weeks, three times a week compared the pre-exercise vascular function variables and after six weeks of exercise, the results showed that in Study 1, low intensity and high repetition developed the expansion of blood vessels after exercise, compared to before exercise when their circulation was blocked (FMD) and increased when their blood pressure was decreased. However, no differences were found between the three exercise conditions, and the second study found no difference between the control and resistance exercise groups. In summary, the acute effects of low intensity and high repetition resistance exercise improved vascular function and lower blood pressure among the elderly. In addition, the study of the long-term effects of low intensity-high repetition exercises, showed no adverse effect on the structure and function of the blood vessels nor blood pressure in the elderly. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลฉับพลันและผลระยะยาวของการฝึกแบบแรงต้านที่ความหนักและจำนวนครั้งแตกต่างกันที่มีต่อโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของหลอดเลือดในผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ อายุ 60-69 ปี แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การศึกษา คือ การศึกษาที่ 1 การศึกษาผลฉับพลัน จำนวน 15 คน ทำการออกกำลังกาย 3 เงื่อนไข คือ การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความหนักมากจำนวนครั้งน้อย (High intensity-Low repetition) การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความหนักปานกลางจำนวนครั้งปานกลาง (Moderate intensity- Moderate repetition) การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความหนักน้อยจำนวนครั้งมาก(Low intensity-High repetition) เปรียบเทียบตัวแปรการทำงานของหลอดเลือดก่อนออกกำลังกาย และหลังออกกำลังกาย 4 ช่วงเวลา (ทันที, 10 นาที, 30 นาที , 60 นาที) จากนั้นนำผลที่ได้จากการศึกษาที่ 1 มาศึกษาต่อในการศึกษาที่ 2 จำนวน 30 คน เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม (Case control study) แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบแรงต้านเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เปรียบเทียบตัวแปรการทำงานของหลอดเลือดก่อนออกกำลังกาย และหลังออกกำลังกาย 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาที่ 1 การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความหนักน้อยจำนวนครั้งมาก(Low intensity-High repetition) มีการขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อถูกปิดกั้นการไหลเวียน (Flow-mediated dilatation : FMD) มีค่าเพิ่มสูงขึ้น และความดันโลหิตขณะบีบตัวและคลายตัวมีค่าลดลง หลังออกกำลังกายเมื่อเทียบกับก่อนออกกำลังกาย แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างการออกกำลังกายทั้ง 3 เงื่อนไข และการศึกษาที่ 2 พบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบแรงต้านไม่พบความแตกต่างระหว่างการออกกำลังกายจากกลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายแบบแรงต้าน สรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความหนักน้อยจำนวนครั้งมาก (Low intensity-High repetition) มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มการทำงานของหลอดเลือด และลดความดันโลหิตแบบฉับพลัน ได้ในผู้สูงอายุ และในการศึกษาผลระยะยาวของการออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความหนักน้อยจำนวนครั้งมาก (Low intensity-High repetition) ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของหลอดเลือด และความดันโลหิตในผู้สูงอายุ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1750 |
Appears in Collections: | Faculty of Physical Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611120006.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.