Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1716
Title: AN APPLICATION OF REMOTE SENSING TO INVESTIGATE FOREST ENCROACHMENT IN THE TABLAN NATIONAL PARK,THAI SAMAKKHI SUB DISTRICT, WANG NAM KHIAO DISTRICT, NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
การประยุกต์การรับรู้ระยะไกลเพื่อติดตามการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Authors: CHOMPUNUT PHALAHAN
ชมพูนุช ผลาหาญ
Asamaporn Sitthi
อสมาภรณ์ สิทธิ
Srinakharinwirot University
Asamaporn Sitthi
อสมาภรณ์ สิทธิ
asamaporn@swu.ac.th
asamaporn@swu.ac.th
Keywords: การบุกรุก
การจำแนกข้อมูลภาพเชิงวัตถุ
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
Encroachment
Object-Based Cassification
Land use and land cover changes
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this study is to apply remote sensing technology to track the traces of forest encroachment in Thap Lan National Park in the Wang Nam Khiao District of Nakhon Ratchasima Province in 2002, 2013 and 2019. Orthochromatic photographs, Thaichote and SENTINEL-2A Satellite imagery were classified using the Object Based Classification technique into five main types of land use and land cover, including housing and buildings, agriculture, forests, water sources and other. The overall accuracy of the classification was 89.40% and the Kappa Index Agreement was 85.78%. The results of land use and land cover changed from 2002 to 2013 showed that urban, forest and water areas increased by 58.36%, 1.62% and 1.83%, respectively, while agricultural and others area declined by 1.28 and 39.89%. From 2013 to 2019 shown that urban, water and other areas increased by 39.96%, 30.11% and 32.00%, respectively. While agricultural and forest areas declined at a rate of 9.30% and 0.88%. In 2019, in the case of an invasion area, there was an increase in urban areas at about 360.78 rai. Some urban areas were demolished at about 31.54 rai, while the others remained at 303.46 rai.
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประยุกต์เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลเพื่อ ติดตามร่องรอยการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ใน พ.ศ. 2545 2556 และ 2562 จากภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข ภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต และ SENTINEL-2A ด้วยเทคนิคการจำแนกข้อมูลภาพเชิงวัตถุ แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 ประเภท คือ ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่อื่น ๆ ผลการศึกษา จากการประเมินความถูกต้องการจำแนกข้อมูลภาพเชิงวัตถุ มีค่าความถูกต้องโดยรวม ร้อยละ 89.40 และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา ร้อยละ 85.78 พบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่าง พ.ศ. 2545 - 2556 ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่แหล่งน้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.36 1.62 และ 1.83 ตามลำดับ พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่อื่น ๆ ลดลงร้อยละ 1.28 และ 39.89 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2562 ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.96 30.11 และ 32.00 ตามลำดับ พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้ ลดลงร้อยละ 9.30  และ 0.88 ตามลำดับ พ.ศ. 2562 บริเวณแปลงคดีที่บุกรุก มีพื้นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น เนื้อที่ประมาณ 360.78 ไร่ พื้นที่ที่มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ประมาณ 31.54 ไร่ และมีพื้นที่ที่ไม่มีการรื้อถอน เนื้อที่ประมาณ 303.46 ไร่
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1716
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130412.pdf7.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.