Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1707
Title: A STUDY OF MATHEMATICAL LITERACY ON QUANTITY, SPACE AND SHAPE OF SIXTH GRADE STUDENTS RECIEVING A LEARNING MANAGEMENT ACCORDING TO MATHEMATISATION PROCESS
การศึกษาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาณ ปริภูมิและรูปทรง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 
Authors: SOMCHAI PHOTHIJATHOOM
สมชาย โพธิจาทุม
PisuttawanSripirom Sirininlakul
พิศุทธวรรณศรีภิรมย์ สิรินิลกุล
Srinakharinwirot University
PisuttawanSripirom Sirininlakul
พิศุทธวรรณศรีภิรมย์ สิรินิลกุล
pisuttaw@swu.ac.th
pisuttaw@swu.ac.th
Keywords: กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์
ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์
ปริมาณ
ปริภูมิ
รูปทรง
Mathematical literacy
Mathematisation process
Quantity
Space
Shape
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is to study mathematical literacy and mathematical literacy performance in terms of the quantity, space and shape among sixth grade students who received learning management according to mathematisation process. The target group included fifteen students at Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development. Then, three of the participants were selected as target students for a case study. The research content was the quantity, shape and space of school mathematics in sixth grade. The research instruments included the mathematization process and related lesson plans, mathematical literacy tests, behavioral observation forms and interview forms. The results of the study were as follows: (1) more than 60% of sixth grade students receiving learning management according to the mathematization process had mathematical literacy in terms of quantity, space and shape higher than 60% of the total scores were statistically significant level at a level of .05; (2) more students had experiences in using mathematisation process for solving real-world problems and most students showed the more clarity of their mathematical literacy behaviors by which student were able to formulate given real-world situations mathematically into mathematical problems, to show how to solve problems more accurately and clearly, and to interpret and evaluate mathematical outcomes more clearly and properly.
ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์และพฤติกรรมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาณ ปริภูมิและรูปทรง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 15 คน โดยมีนักเรียนเป้าหมายเพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 3 คน เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่ไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เรื่อง ปริมาณ ปริภูมิและรูปทรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ (2) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (3) แบบสังเกตพฤติกรรมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ และ (4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ มีความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาณ ปริภูมิและรูปทรง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) เมื่อนักเรียนมีประสบการณ์ในการใช้กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาชีวิตจริงมากขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่แสดงพฤติกรรมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยนักเรียนสามารถแปลงสถานการณ์ให้เป็นคณิตศาสตร์ได้สมบูรณ์มากขึ้น แสดงวิธีหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น ตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1707
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130376.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.