Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1693
Title: THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE TPACKFOR PRE-SERVICE MATHEMATICS TEACHERS
การพัฒนารูปแบบการสอนที่เสริมสร้าง TPACK สำหรับนิสิตครูคณิตศาสตร์
Authors: VEERIS KITTIVARAKUL
วีริศ กิตติวรากูล
Khawn Piasai
ขวัญ เพียซ้าย
Srinakharinwirot University
Khawn Piasai
ขวัญ เพียซ้าย
khawn@swu.ac.th
khawn@swu.ac.th
Keywords: ความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหา
ทีแพค
นิสิตครูคณิตศาสตร์
รูปแบบการสอน
Technological Pedagogical Content Knowledge
TPACK
Pre-service mathematics teachers
Teaching model
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are as follows: (1) to develop a teaching model to enhance TPACK for pre-service mathematics teachers; (2) to study the effectiveness of the teaching model designed to enhance TPACK; and (3) to study TPACK with pre-service mathematics teachers before and after using the teaching model. The target group consisted of 31 fourth-year pre-service mathematics teachers at Srinakharinwirot University during the second semester of the 2021 academic year. The target group was selected by purposive sampling and there were three informants, selected by purposive sampling and an in-depth study TPACK of pre-service mathematics teachers. This study was conducted in four stages: (1) a literature review on designing the teaching model; (2) to develop a teaching model and verifying its quality; (3) acting out the teaching model in real situations; and (4) evaluating the effectiveness of the teaching model. The teaching model consisted of four phases: Phase 1: prepare technological knowledge; Phase 2: foster acceptance; Phase 3: design teaching and assessment with technology; and Phase 4: practice designing, teaching, and assessment with technology. The tool used to assess technological knowledge was a technological knowledge task and the tool used to assess TPACK were a designing and assessing lesson using the GeoGebra program task, TPACK rubric scoring and the task-based interviews with the informant were used to assess TPACK. The results were (1) The mean score of the teaching model quality was greater than 4.60 and standard deviation was less than 1.00 in all items, which passed the criteria; (2) the teaching model was effective according to the criteria: (2.1) the number of pre-service mathematics teachers in the target group with a technological knowledge score greater than 75% was 25 out of 31, or 80.65% greater than the efficacy criteria; and (2.2) the number of pre-service mathematics teachers in the target group whose TPACK results were greater than 75% was 25 out of 31, or 80.65% greater than the efficacy criteria; and (3) the number of pre-service mathematics teachers in the target group with TPACK results after being taught were greater than before being taught, with 28 out of 31 pre-service teachers or 90.32% of the total in the target group and met the assumptions of the study.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนที่เสริมสร้าง TPACK สำหรับนิสิตครูคณิตศาสตร์ ​2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนที่เสริมสร้าง TPACK สำหรับนิสิตครูคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษา TPACK ของนิสิตครูก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เสริมสร้าง TPACK สำหรับนิสิตครูคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายคือนิสิตครูคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง และมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 3 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายเพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับ TPACK ก่อนและหลังได้รับการจัด การเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนของนิสิตครู การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบรูปแบบการสอน 2) การพัฒนารูปแบบการสอนและตรวจสอบคุณภาพ 3) การทดลองรูปแบบการสอนในสถานการณ์จริง และ 4) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอน รูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นแบ่งการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมความรู้ด้านเทคโนโลยี ระยะที่ 2 การทำให้เกิดการยอมรับ ระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี และระยะที่ 4 การฝึกออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูล แบ่งเป็น 1) เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวมข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีของนิสิตครู คือ งานปฏิบัติ เรื่อง ความรู้ด้านเทคโนโลยีของนิสิตครู และ 2) เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล TPACK ของนิสิตครูก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน ได้แก่ งานปฏิบัติ เรื่อง การใช้โปรแกรม GeoGebra ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ เกณฑ์การให้คะแนน TPACK ของนิสิตครู สำหรับขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลมีดังนี้ 1) ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระยะที่ 1 ของรูปแบบการสอนให้กับนิสิตครูกลุ่มเป้าหมาย 2) เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีของนิสิตครู เพื่อหาประสิทธิผลของรูปแบบการสอน ด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีของนิสิตครู 3) เก็บรวบรวมข้อมูล TPACK ของนิสิตครูก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนในระยะที่ 2 – 4 ของรูปแบบการสอน เพื่อศึกษา TPACK ของนิสิตครู ก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน 4) ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนระยะที่ 2 - 4 ให้กับนิสิตครูกลุ่มเป้าหมาย 5) เก็บรวบรวมข้อมูล TPACK ของนิสิตครูหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน เพื่อหาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนด้าน TPACK ของนิสิตครู และศึกษา TPACK ของนิสิตครูหลังได้รับการจัด การเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ได้ประเมินว่าทุกข้อรายการมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.60 ขึ้นไป และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไม่เกิน 1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ 2) รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ดังนี้ 2.1) จำนวนนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการประเมินความรู้ ด้านเทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 25 คน จากจำนวนทั้งหมด 31 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.65 ของ จำนวนนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิผลที่กำหนดไว้ และ 2.2) จำนวนนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการประเมิน TPACK สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 25 คน จากจำนวนทั้งหมด 31 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.65 ของจำนวนนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิผลที่กำหนดไว้ และ 3) จำนวนนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการประเมิน TPACK หลังได้รับ การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอน มีจำนวน 28 คน จากจำนวนทั้งหมด 31 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 90.32 ของจำนวนนิสิตครูกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานในการวิจัยที่กำหนดไว้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1693
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621120016.pdf9.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.