Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1688
Title: A STUDY OF MATHAYOMSUKSA V STUDENTS’ CONCEPTUAL KNOWLEDGE AND PROCEDURAL KNOWLEDGE ON VECTORS IN 3D BY USING GEOGEBRA PROGRAM
การศึกษาความรู้เชิงมโนทัศน์และความรู้เชิงกระบวนการ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra
Authors: KIEDTISAK SANGTHONG
เกียรติศักดิ์ แสงทอง
Chira Lumduanhom
ชิรา ลำดวนหอม
Srinakharinwirot University
Chira Lumduanhom
ชิรา ลำดวนหอม
chira@swu.ac.th
chira@swu.ac.th
Keywords: ความรู้เชิงมโนทัศน์
ความรู้เชิงกระบวนการ
โปรแกรม GeoGebra
เวกเตอร์ในสามมิติ
Conceptual knowledge
Procedural knowledge
GeoGebra
3D Vectors
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are as follows: (1) to study the conceptual knowledge of Mathayomsuksa Five students on 3D vectors  after being taught with GeoGebra program; and (2) to study the procedural knowledge of Mathayomsuksa Five students on 3D vectors  after being taught with GeoGebra program. The participants were 34 Mathayomsuksa Five students at Horwang School in Bangkok, Thailand, in the second semester of 2021 academic year. The instruments used in this study were as follows: (1) 12 lesson plans that allowed students to learn the topic with GeoGebra program; and (2) a conceptual knowledge and procedural knowledge test on the topic of 3D vectors. The students were said to have conceptual knowledge and procedural knowledge if they scored 60% or more on the test. The collected data were analyzed using basic statistics and a Binomial Test. The research findings revealed the following: (1) after being taught using GeoGebra, no more than 60% of the participants had conceptual knowledge on 3D vectors; and (2) after being taught using GeoGebra, over 60% of the participants had procedural knowledge on 3D vectors with a 0.05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เชิงมโนทัศน์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra กับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 2) เปรียบเทียบความรู้เชิงกระบวนการ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra กับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนหอวัง จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 34 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มชั้นเดียวจากทั้งหมด 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ จำนวน 12 แผน และ 2) แบบทดสอบวัดความรู้เชิงมโนทัศน์และความรู้เชิงกระบวนการ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทวินาม ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra มีความรู้เชิงมโนทัศน์ผ่านเกณฑ์ไม่มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra มีความรู้เชิงกระบวนการผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1688
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110171.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.