Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1683
Title: | EFFECT OF PROGRAMS ON POSTTRAUMATIC GROWTH AMONG YOUNG ADULT WITH MOOD DISORDER ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชโรคความผิดปกติทางอารมณ์วัยผู้ใหญ่ตอนต้น |
Authors: | PHATTARAPORN TEERAKARN ภัทราภรณ์ ธีระการณ์ Supat Sanjamsai สุพัทธ แสนแจ่มใส Srinakharinwirot University Supat Sanjamsai สุพัทธ แสนแจ่มใส suput@swu.ac.th suput@swu.ac.th |
Keywords: | เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ผู้ป่วยจิตเวช วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ผลของโปรแกรม posttraumatic growth effect of programs Mood disorders Young adults โรคความผิดปกติทางอารมณ์ |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research is to examine effects of posttraumatic growth among young adults with mood disorders. This study used to compare posttraumatic growth mean scores between the control and experimental groups. The Posttraumatic Growth Inventory was constructed from the analysis of meaning and the factors of posttraumatic growth consisting of 29 items.The sample consisted of 24 young adults with mood disorders were divided into two groups, with 12 samples in each group, which were divided into a control and an experimental group. The participants were selected by a pair matching subject and a sampling random assignment. This program had a knowledge base about posttraumatic growth, basic counseling skills, psychotherapy theories and group psychotherapy, such as Person-Centered Therapy, the Gestalt Approach in Counseling and Psychotherapy, Existential Counseling and Psychotherapy, the Cognitive Approach in Counseling and Psychotherapy, Positive Psychology, The Satir Model Family Therapy and Beyond, and Supportive Psychotherapy. This program included eight interventions for two weeks with four interventions per week. The control group will be assigned to medical treatment and psychoeducation about posttraumatic growth. The statistical methods used for data analysis paired a sample t-test and an independent sample t-test. The result was that the experimental group had a higher level of posttraumatic growth than the control group with a statistical significance of .05 and the experimental group had a higher level of posttraumatic growth than before joining the program with a statistical significance of .01. The results of this research reflected that this program could enhance posttraumatic growth among young adults with mood disorders for returning to their lives and working effectively. การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชโรคความผิดปกติทางอารมณ์วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์ความหมายและองค์ประกอบของความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชโรคความผิดปกทางอารมณ์วัยผู้ใหญ่ตอนต้น จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน โดยได้คะแนนจากแบบวัดความงอกงามภายในตนเอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองซึ่งได้จากการสังเคราะห์ความหมายและองค์ประกอบและนำมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 ข้อ และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จากนั้นทำการจับเข้ากลุ่มแบบจับคู่รายบุคคล (Matching subject) ที่มีคะแนนจากแบบวัดใกล้เคียงกันมาจับคู่กัน และทำการสุ่มเข้ากลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Random Assignment) โดยโปรแกรมฯถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและแนวคิดทฤษฎีการให้คำปรึกษา/จิตบำบัดทางจิตวิทยาต่างๆ ที่มีการบูรณาการจากหลากหลายทฤษฎี ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีบุคคลเป็นศูนย์กลาง แบบเกสตอลต์ แบบอัตถิภาวนิยม แบบการรู้การคิด แบบจิตวิทยาเชิงบวก แบบซาเทียร์ และแบบประคับประคอง ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 กิจกรรม และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและได้รับการให้ความรู้ (Psychoeducation) เกี่ยวกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญในรูปแบบของแผ่นพับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ paired sample t-test และ independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า โปรแกรมฯที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวชโรคความผิดปกติทางอารมณ์วัยผู้ใหญ่ตอนต้นสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติและทำงานได้เต็มศักยภาพของวัยได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1683 |
Appears in Collections: | Faculty of Humanities |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130323.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.