Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1636
Title: A PORTRAYAL OF POWER RELATIONS AND AETONORMATIVITY IN DIANA WYNNE JONES’S CHRESTOMANCI SERIES  
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และ บรรทัดฐานของผู้ใหญ่ในวรรณกรรมชุด เครสโตมานซี ของ ไดอาน่า วิน โจนส์
Authors: YADA SATTARUJAWONG
ญดา สัตตะรุจาวงษ์
Narathip Thumawongsa
นราธิป ธรรมวงศา
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Keywords: บรรทัดฐานของผู้ใหญ่
วรรณกรรมเยาวชน
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
อำนาจ
ไดอาน่า ไวน์ โจนส์
Aetonormativity
Children’s literature
Ideology
Power
Diana Wynne Jones
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The growing interest in and the expanding market for children’s literature have established the genre as a major part of publishing business. In the academic realm, scholars have applied existing literary and cultural theoretical concepts to the study of children’s literature in order to formulate a specific literary theory for the field. Attempts have also been made to understand its narratological methods and functions. However, the general application of existing theoretical perspectives with regard to children’s literature have yet to focus on their socio-ideological influences. This research paper specifically draws on the existing modalities of power and ideology conceptualized by Michael Foucault, Louis Althusser and the levels of ideological communication in children’s literature by Peter Hollindale to examine the relations of power between adult and child protagonists in the Chrestomanci series by Diana Wynne Jones. The repression and subversion of power are portrayed through adult and child characters in Jones’ fantasy works for children and represented throughout the development of her fantasy series, consisting of seven books written between 1977 and 2006. The portrayal of influence of villainous adults and their manipulative use of power calls for a deconstructive view of adults who refuse the position of righteous authority, in contrast to the representation of children who, as in most fantasy works, are subsumed under the influence of ideologies and the authority of adults. A study of this role reversal in Jones’ works also calls for an application of the concept of “aetonormativity” by Maria Nikolajeva, an ideological platform employed to support the growth of children into righteous adults through the process of self-recognition and being critical of their adult counterparts. This role reversal revealed an alternative critical perspective on the tendency of texts for children which are normally created under the concept of adult’s normativity. 
วรรณกรรมเยาวชนแฟนตาซีได้รับความนิยมแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันเป็นงานเขียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ในแวดวงวิชาการการศึกษาวรรณกรรมเยาวชนโดยใช้แนวทฤษฎีการศึกษาวรรณกรรม แนวคิดทางวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ซึ่งเป็นแนวคิดโดยเฉพาะของกลุ่มงานวรรณกรรมเยาวชนนั้นปรากฏการศึกษาในด้านศาสตร์การเล่าเรื่อง และกลวิธีการเล่าเรื่อง อย่างไรก็ตามการนำมุมมองด้านสังคมวัฒนธรรมมาศึกษาผลงานวรรณกรรมเยาวชนนั้นยังไม่ปรากฏแพร่หลาย             ผลงานวิจัยฉบับนี้นำเอาแนวคิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการสร้างบรรทัดฐานของสังคม ตามแนวของ มิเชล ฟูโกต์ (Michael Foucault) หลุยส์ อัลตูรแซร์ (Louis Althusser) และ ลักษณะการแบ่งประเภทของการใช้บรรทัดฐานทางสังคมของ ปีเตอร์ ฮอลลันเดล (Peter Hollindale) มาศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระหว่างตัวละครผู้ใหญ่และเด็กในวรรณกรรมชุด เครสโตแมนซี่(Chrestomanci) ของไดอาน่า ไวน์ โจนส์ (Diana Wynne Jones) การควบคุม และการล้มล้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตัวละคร ผู้ใหญ่และเด็ก ในผลงานเขียนสำหรับเด็กที่มีการใช้อนุภาคของความมหัศจรรย์เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการของงานเขียนของ ไดอาน่า ไวน์ โจนส์ (Diana Wynne Jones) ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี 1977 ถึงปี 2006 การนำเสนอตัวละครผู้ใหญ่ในฐานะตัวละครชั่วร้ายแสดงลักษณะการใช้อำนาจของผู้ใหญ่ทำให้การอ่านเชิงรื้อสร้างเปิดเผยให้เห็นถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ซึ่งอยู่ในอำนาจ กับเด็กซึ่งตกอยู่ภายใต้อานัติของผู้ใหญ่ ลักษณะการสลับบทบาททางอำนาจในอนุภาคความมหัศจรรย์ของงานเขียนสำหรับเด็กเหล่านี้ สัมพันธ์กับแนวคิดของ มาเรีย นิโคลาเจวา (Maria Nikolajeva) ซึ่งเสนอให้เราอ่านวรรณกรรมสำหรับเยาวชนโดยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะบรรทัดฐานทางสังคมที่ถูกกำหนดโดยความเป็นผู้ใหญ่ และปรากฏทั่วไปในงานวรรณกรรมสำหรับเด็ก การสลับบทบาทระหว่างผู้ใหญ่และเด็กในวรรณกรรมเยาวชนแฟนตาซี เผยให้เห็นถึงแนวคิดลักษณะบรรทัดฐานทางสังคมของผู้ใหญ่ ซึ่งแฝงอยู่ในงานวรรณกรรมสำหรับเยาวชน
Description: DOCTOR OF ARTS (D.A.)
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1636
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591120006.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.