Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1615
Title: PIPAT MON OF DONTRI-SANOR FAMILY
ปี่พาทย์มอญตระกูลดนตรีเสนาะ
Authors: CHATCHAI PUAKDEE
ชัชชัย พวกดี
Veera Phansue
วีระ พันธุ์เสือ
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: ตระกูลดนตรีเสนาะ, ปี่พาทย์มอญ, ประวัติ, การสืบทอด, การบรรเลง
Dontri-Sanor family / Pipat Mon / History / Music transmission / Pipat Mon playing
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research concerns Pipat Mon of the Dontri-Sanor Family, which is related to ethnomusicology. The objective of this research is to study the history of this ensemble, along with how knowledge is passed on and transmitted, after gathering data from both written documents and field research. This study reveals that Nai Si, the significant forefather of this school, migrated from Mottama to Thailand with a Mon gong. After that, his son, named Nai Juen, whom Master Si taught musical knowledge and all playing techniques until he became well known, performed the Piphat Mon at the funeral ceremony of King Rama V in 1913 and in the funeral ceremony of HRH Sukhuman Marasri the Princess Consort, and the mother of HRH Prince Paribatra Sukhumband in 1929. He also received the surname Dontri-sanor from HRH Prince Paribatra Sukhumband. Currently, the fourth generation of this family has organized two major schools, Ban Mai Hang Kraben School in Ayutthaya province and Ban Auttagrit School in Pathum Thani province. Both of these schools strictly adhere to Mon customs, beliefs, rituals and other musical traditions, as well as the particular styles and techniques of their ancestors in order to run their ensembles and continue to serve society.
งานวิจัย “ปี่พาทย์มอญตระกูลดนตรีเสนาะ” เป็นงานวิจัยทางด้านมานุษยดุริยางควิทยา ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการลงเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยมีจุดประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาประวัติปี่พาทย์มอญตระกูลดนตรีเสนาะ การสืบทอด ปี่พาทย์มอญตระกูลดนตรีเสนาะ ผลการศึกษาพบว่า บรรพบุรุษของตระกูลดนตรีเสนาะอพยพมาจากเมืองเมาะตะมะเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับเครื่องดนตรี “ฆ้องมอญ”   โดยมีนายสีเป็นบุคลสำคัญของตระกูลที่รับการสืบทอดดนตรี และได้รับการถ่ายทอดดนตรี ให้กับนายเจิ้นซึ่งเป็นบุตร จนได้ก่อตั้งวงปี่พาทย์มอญในราวปี พ.ศ. 2434 และจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก  ผลงานสำคัญได้ถวายงานบรรเลงปี่พาทย์มอญในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2454 และงานพระศพของสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในปี พ.ศ. 2471 ได้รับประทานนามสกุล “ดนตรีเสนาะ” จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในปัจจุบันการสืบทอดของวงปี่พาทย์มอญตระกูลดนตรีเสนาะเป็นรุ่นที่ 4  มีวงปี่พาทย์มอญในสายตระกูลดนตรีเสนาะจำนวน 2 วง ได้แก่ วงดนตรีเสนาะ และ วงมงคลสิน นอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดเพลงมอญให้กับสำนักดนตรีที่สำคัญอีก 2 แห่ง ได้แก่ สำนักดนตรีบ้านใหม่หางกระเบน จังหวัดอยุธยา และสำนักดนตรีบ้านอรรถกฤษณ์ จังหวัดปทุมธานี  โดยยังคงรับใช้สังคมตามขนบวิถีวัฒนธรรมมอญ ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ความบันเทิง ด้วยแบบแผนวัฒนธรรมการบรรเลงปี่พาทย์มอญและเพลงมอญของตระกูลดนตรีเสนาะในแบบดั้งเดิมไว้อย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
Description: DOCTOR OF ARTS (D.A.)
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1615
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs581150053.pdf19.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.