Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/157
Title: STUDY AND DEVELOPMENT OF GAME APPLICATION FOR PUBLICIZE CULTURAL TOURISM. : CASE STUDY OF NAKHON RATCHASIMA PROVINCE.
การศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันเกมเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
Authors: WILAWAN WATCHARINRAT
วิลาวัณย์ วัชรินทร์รัตน์
KORAKLOD KUMSOOK
กรกลด คำสุข
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แอปพลิเคชันเกม สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผจญภัย
Cultural tourism Game application Smartphones Tablets Adventure
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The design and development of game application on smartphones and tablets can be easily applied to interesting content needed to be delivered to users to have fun, enjoy, be motivated, and become a form of media in order to promote cultural tourism in Nakhon Ratchasima. The objectives of this research were to study and to analyze the cultural tourism data about attractions in Nakhon Ratchasima to determine the type of game applications appropriate to promote cultural tourism and to design and develop  game applications appropriate for smart phones and tablets that can be used to promote cultural tourism in Nakhon Ratchasima province. The population of this study was a total of twentyl types of game applications in the iOS App Store, the Android Play Store. The sample included a prototype of the game application used to promote cultural tourism in a case study on the Nakhon Ratchasima province. The research tools included questionnaires used to study and analyze the data regarding the selection of cultural attractions in the Nakhon Ratchasima province. The questionnaires used to study and analyze information on the types of applications to find the game application that is most appropriate in terms of the objectives and determining the design requirements. The questionnaires to evaluate the performance of  game application prototypes, including the aspects of the design and content of the game application and the questionnaires and satisfaction evaluation form for game application prototypes. Base on the research, it was found that there were four cultural tourist attractions in the province that were ready and suitable to be used in the design and development of game applications to conduct public relations for cultural tourism in the Nakhon Ratchasima province; namely the Thao Suranari Monument, the Dan Kwian Pottery village, the Phimai Historical Park and the Ban Prasat Archaeological Site for presentation in adventure games and to identity the design criteria that the ways to design game application prototype and the selection of the most appropriate prototype based on performance evaluation from experts used to develop a prototype of the game application and evaluate the satisfaction of the people who used the prototype of the game application. Then results were analyzed and summarized the results to develop a game application prototype that is appropriate for the promotion of cultural tourism in Nakhon Ratchasima province, made users want to travel to the destination and was also beneficial to those involved.
การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเกมบนสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเนื้อหาข้อมูลที่ต้องการนำเสนอออกมาให้มีความน่าสนใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ผู้ใช้งานได้รับความสนุกสนานและสร้างแรงจูงใจได้ดี รวมไปถึงการเป็นสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาได้ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาประเภทของแอปพลิเคชันเกมที่มีความเหมาะสมในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเกมบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่สามารถนำมาใช้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครราชสีมาได้อย่างเหมาะสม มีประเภทของแอปพลิเคชันเกมทั้งหมดบนแอปสโตร์ของระบบปฏิบัติการไอโอเอสและเพลย์สโตร์ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จำนวนทั้งสิ้น 20 ประเภทเป็นประชากรที่ใช้ในการวิจัย และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นแบบร่างแอปพลิเคชันเกมเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในการคัดเลือกสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครราชสีมา แบบสอบถามเพื่อหาประเภทของแอปพลิเคชันเกมที่มีความเหมาะสมตามวัตถุประสงค์มากที่สุดและหาข้อกำหนดในออกแบบ แบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพแบบร่าง ทั้งด้านการออกแบบและด้านเนื้อหาข้อมูลของแอปพลิเคชันเกม และแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบแอปพลิเคชันเกมนี้ ผลการวิจัยพบว่าสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครราชสีมาที่มีความพร้อมและความเหมาะสมแก่การนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเกมเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีจำนวนทั้งสิ้น 4 สถานที่ คือ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ปราสาทหินพิมาย และแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบของแอปพลิเคชันเกมประเภทผจญภัย และได้ทำการหาข้อกำหนดการออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบร่างแอพลิเคชันเกมขึ้นมา และคัดเลือกแบบร่างที่เหมาะสมที่สุดโดยผ่านการประเมินประสิทธิภาพในด้านต่างๆโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบแอปพลิเคชันเกม จากนั้นทำการประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบจริงจากผู้ที่ใช้งานแอปพลิเคชันเกมนี้ ทำการวิเคราะห์และสรุปผล นำไปพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันเกมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อให้ต้นแบบแอปพลิเคชันเกมนี้สามารถประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาได้เป็นอย่างดี และทำให้ผู้ใช้งานแอปพลิชันเกมนี้สนใจอยากเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่นั้นจริงๆเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นประโยชน์แก่ผู่ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจต่อไป
Description: MASTER OF FINE ARTS (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/157
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs581130356.pdf15.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.