Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1546
Title: | ART TEACHING MODEL FOR ART SKILLS DEVELOPMENT IN AUTISTIC CHILDREN WITH GIFTED ART SKILLS รูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ |
Authors: | ANUWAT MAUNGMA อนุวัฒน์ ม่วงมา Lertsiri Bovornkitti เลิศศิริร์ บวรกิตติ Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | รูปแบบการสอนศิลปะ ทักษะศิลปะ ออทิสติก Model of art teaching Art skills Autistic |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Anuwat Muangma. (2560). The model of art teaching to develop art skills of Autistic students with artistic talent. Master Thesis, M. Ed. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University. Advisor Committee: Asst. Prof. Dr.Lertsiri Bovornkitti The purposes of this study are as follows: (1) to develop a model of art teaching for the art skills development of autistic students with gifted art skills; (2) to evaluate an appropriate of model of art teaching for art skills development among autistic students with gifted art skills. In terms of qualitative research, the eight samples were selected using purposive sampling, including the following: (1) two art professors; (2) two art teachers with work experience with autistic students; (3) two teachers in other fields of teaching who have work experience with autistic students; and (4) two special teachers who graduate from the fine arts and other fields. The instruments included an interview, observation and assessment for the appropriateness of the art teaching style. There were two types of data collected: (1) data from documents; and (2) data from fieldwork and analyzed using qualitative data analysis techniques and descriptive statistics, including mean and standard deviation. The results revealed that the model of art teaching developed the art skills of autistic students with gifted art skills and consisted of the following: (1) principles; (2) attitudes; (3) purpose; (4) student analysis; (5) curriculum and substance; (7) teaching techniques; (8) creating a positive learning environment; (9) effective learning factor; (10) evaluation; (11) promoting and cooperating in the development of art skills. The results of the assessment of appropriate models of art teaching at a medium level, indicating that the model of art teaching is appropriate in terms of compositions, forms and the accuracy of contents and that this model can be used in teaching in a group of autistic students with gifted art skills.
อนุวัฒน์ ม่วงมา. (2560). รูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ. ปริญญานิพนธ์ กษ.ม. กรงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะทางศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ ดำเนินการวิจัยในลักษณะของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มประชากร จำนวนทั้งสิ้น 8 คน ประกอบด้วย 1)ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสอนศิลปะเด็กออทิสติก จำนวน 2 คน 2) ครูศิลปะ ที่จบการศึกษาทางด้านสาขาศิลปะโดยตรง ปฏิบัติหน้าที่และมีประสบการณ์ในการสอนศิลปะเด็กออทิสติก จำนวน 2 คน 3) ครูผู้สอนศิลปะ ที่จบการศึกษาในด้านสาขาอื่น ๆ ปฏิบัติหน้าที่และมีประสบการณ์ในการสอนศิลปะเด็กออทิสติก จำนวน 2 คน และ 4) ครูพิเศษที่จบการศึกษาด้านสาขาศิลปะหรือสาขาอื่น ๆ ปฏิบัติหน้าที่และมีประสบการณ์ในการสอนศิลปะเด็กออทิสติก จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนศิลปะฯ โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ส่วน คือ ข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ตามแนวการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เป็นรายกลุ่มและนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ มีองค์ประกอบสำคัญ 11 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) ทัศนคติ 3) เป้าหมาย/จุดประสงค์ 4) การวิเคราะห์ผู้เรียน 5) หลักสูตรและเนื้อหา 6) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 7) เทคนิคการสอน 8) การสร้างบรรยากาศ 9) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล 11) การส่งเสริมและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาทักษะทางศิลปะ และมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะทางศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ อยู่ในระดับ ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการสอนรูปแบบการสอนศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะศิลปะของเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษทางศิลปะ มีความเหมาะสมทั้งในด้านองค์ประกอบ รูปแบบ ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา สามารถนำไปใช้ได้จริงในการพัฒนาทักษะศิลปะในเด็กออทิสติกที่มีความสามารถทางด้านศิลปะ |
Description: | MASTER OF EDUCATION (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1546 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601130216.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.