Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1545
Title: MANAGEMENT MODEL FOR EXISTENCE OF LOCAL KNOWLEDGE AMPHAWA FLOATING MARKET SAMUT SONGKHRAM PROVINCE
รูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: CHITSUPHANG KERDSAMANG
ชิตสุภางค์ เกิดสำอางค์
Chakapong Phatlakfa
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: การดำรงอยู่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
อัมพวา
Existence
Local wisdom
Amphawa
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are as follows: (1) to analyze the context of the phenomena and the reason for the existence of local knowledge of the Amphawa Floating Market in Samut Songkharm Province; and (2) to synthesize the management model for the existence of local knowledge of Amphawa Floating Market in Samut Songkharm Province. This study used Parson’s Structural Functionalism Theory and selected a model sample group of using non-probability sampling, purposive sampling, and snowball sampling. The population of this study consisted of the leader of the community, the village sage, and citizens living in or around the area of the Amphawa Floating Market. The methods employed in this research were in-depth interviews, observations, and a survey. The information was analyzed, followed by an explanation. The research indicated the following: (1) the context of the phenomena and the reason for the existence of local knowledge of the Amphawa Floating Market in Samut Songkharm Province, demonstrated four phenomena: (1.1) the Thonburi-Pah Tho Road was built from 1970-1973; (1.2) the Srinakarin Dam was built from 1980-1983; (1.3) the evening floating market project was initiated from 2002-2005; and (1.4) the community-based conservation group business was set up in 2011. The existing local wisdom included the following: coconut gardening, coconut sugar making, vinegar making, making avocado-mixed hot coconut oil, making cold extract coconut oil, and the processing used a product derived from coconuts; (2) the management model for existence of local knowledge of the Amphawa Floating Market in Samut Songkharm Province was planned to fit the context and setting goals. It integrated knowledge and agencies to form local intellectual products and disseminate knowledge as the preservation of a legacy. The evaluation and correction of any defects will be repeated. The existence of local wisdom in the Amphwa Water Market community was characteristic of applying and continuing to create value, which has been clear since the third phenomenon. At the same time, the Amphwa Water Market has taken six steps that have made it successful, but has not yet made comprehensive outcomes.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทของปรากฏการณ์และมูลเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงครามและ 2) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ภายในชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยอาศัยทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยมของพาร์สันเป็นหลักในการวิเคราะห์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และแบบสโนว์บอล (Snowball) ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน หัวหน้ากลุ่ม ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชนที่อาศัยหรือประกอบอาชีพหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ตลาดน้ำอัมพวา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการสำรวจและสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาประกอบการอธิบาย ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของปรากฏการณ์และมูลเหตุที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามประกอบด้วย 4 ปรากฏการณ์ ได้แก่ 1.1) ช่วงปี 2513-2516 ที่มีการสร้างถนนธนบุรี-ปากท่อ  1.2) ช่วงปี 2523-2526 ที่มีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ 1.3) ช่วงปี 2545-2548 มีการเข้าร่วมโครงการตลาดน้ำยามเย็น และ 1.4) ช่วงปี 2554-ปัจจุบัน ที่มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูมะพร้าวครบวงจร โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังดำรงอยู่ ได้แก่ การทำสวนมะพร้าว การทำเตาตาล การทำน้ำส้มสายชู การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดร้อนผสมอโวคาโด้ การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากมะพร้าว 2) รูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ภายในชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คือ การวางแผนให้เหมาะสมกับบริบทและกำหนดเป้าหมาย บูรณาการองค์ความรู้และหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันให้เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นและเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ จากนั้นจึงมีการประเมินผลและแก้ไขจุดบกพร่องเพื่อดำเนินการซ้ำอีกครั้ง ทั้งนี้ได้การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในชุมชนตลาดน้ำอัมพวาเป็นลักษณะของการประยุกต์และต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีความชัดเจนตั้งแต่ช่วงปรากฏการณ์ที่ 3 เป็นต้นมาและในช่วงเวลาเดียวกันตลาดน้ำอัมพวาได้ดำเนินการ 6 ขั้นตอนที่ทำให้ตลาดประสบความสำเร็จแต่ยังคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้นไม่ครอบคลุมนักจึงส่งผลประทบต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน
Description: DOCTOR OF ARTS (D.A.)
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1545
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591150034.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.