Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1516
Title: THE DEVELOPMENT OF  CURRICULUM APPROACH TO ENHANCE ENTREPRENEUR COMPETENCE AND CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITYFOR UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS 
การพัฒนาหลักสูตรที่เสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
Authors: PENLADA TOOPRIOA
เพ็ญลดา ทู้ไพเราะ
Rungtiwa Yamrung
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: หลักสูตร
สมรรถนะผู้ประกอบการ
ความรับผิดชอบต่อสังคม
Curriculum
Entrepreneur
Social responsibility
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the components of entrepreneurial social responsibility, the creation of a curriculum and to study the effectiveness and efficiency of the curriculum to enhance the capacity of socially responsible entrepreneurship among high school students .The curriculum development methodology is based on the work of Tyler and Taba, which consists of four phases: Phase One: Study and Analysis of Fundamentals; Phase Two: Curriculum Development; Phase Three: Curriculum Experiments and Evaluation; and Phase Four: Curriculum Improvement. The components of the entrepreneurs were separated into three categories: (1) knowledge aspect; (2) skill aspect; and (3) relevant trait aspects. The mean was 4.88 and the standard deviation (SD) was 0.31, which was the most appropriate level. This quasi-experimental research used a one group pretest-posttest design to study a total of 30 students in Mattayomsuksa Five, taking additional courses in occupational entrepreneurship at Sanguan Ying School. These samples were selected via the purposive sampling method in the first semester of 2021 academic year. The content of the course consisted of four learning units: Unit One: Beginner Entrepreneurs; Unit Two: Introductory Mathematics for Entrepreneurs; Unit Three: Practicing Entrepreneurs and Entrepreneurship; and Unit Four: Good Entrepreneurs. The results of the course performance assessment in terms of the suitability of the course and the consistency between the components in the curriculum. The results were examined by an expert. The assessment found that the consistency between the curriculum components was 0.89 and when considering the components of the curriculum, it was found that the curriculum was consistent between 0.06-1.00. When considering the appropriateness of the curriculum, it was found that the mean was 4.36, which was at a very reasonable level. The results of the assessment of the effectiveness of the competency scores of entrepreneurs with social responsibility in three areas, namely knowledge, skills, and characteristics. After taking the course, the scores were higher than before using the course. In addition, it was higher than 70% and a statistical significance of .05.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาหลักสูตรและศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรที่เสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยวิธีการพัฒนาหลักสูตรใช้แนวคิดของไทเลอร์และทาบา ซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาร่างหลักสูตร ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลหลักสูตร และระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรองค์ประกอบของสมรรถนะของการเป็นผู้ประกอบการแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านความรู้ (Knowledge aspect) 2. ด้านทักษะ (Skill aspect)  3. ด้านลักษณะ (Relevant trait aspect) พบว่าผลการประเมินความเหมาะสมของสมรรถนะผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีค่าเฉลี่ย 4.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) มีค่า 0.31  ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดหลักสูตรที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมนี้พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียวก่อนหลัง (One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสงวนหญิงจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน โดยทั้งหมดเป็นนักเรียนที่เลือกเรียนรายวิชาอาชีพผู้ประกอบการ (Occupation) เนื้อหาในหลักสูตรประกอบไปด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยที่ 1 ผู้ประกอบการเริ่มต้น หน่วยที่ 2 คณิตศาสตร์สำหรับผู้ประกอบการเบื้องต้น หน่วยที่ 3 ปฏิบัติการผู้ประกอบการ และหน่วยที่ 4 ผู้ประกอบการที่ดีผลการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร ในด้านความเหมาะสมของหลักสูตร และความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบในหลักสูตร  ผู้วิจัยตรวจสอบโดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบในหลักสูตรมีค่าเท่ากับ 0.89 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบภายในหลักสูตรพบว่าหลักสูตรมีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.06 - 1.00 และเมื่อพิจารณาด้านความเหมาะสมของหลักสูตรพบว่ามีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.36 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมากผลการประเมินประสิทธิผลจากคะแนนสมรรถนะผู้ประกอบที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1516
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150007.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.