Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/151
Title: STUDY AND DEVELOPMENT OF FABRIC CONSTRUCTION MOTIF FOR CREATE NEW IDENTITY OF THAI SILK
การศึกษาและพัฒนาลายผ้าทอเพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่ผ้าไหมไทย
Authors: YADA SAWASDEE
ญดา สวัสดี
KORAKLOD KUMSOOK
กรกลด คำสุข
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: อัตลักษณ์ดั้งเดิมผ้าไหมไทย
อัตลักษณ์ใหม่ผ้าไหมไทย
ลายผ้าทอ
แฟชั่นร่วมสมัย
THAI SILK
FABRIC CONSTRUCTION MOTIF
NEW IDENTITY
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims (1) to study and analyze traditional Thai silk identity, consisting of processes, materials, features and colors; (2) to design and develop new Thai silk weaving for contemporary fashion apparel to design and develop new woven fabric patterns consistent with current consumer demand. This study is also a guideline for the design of Thai silk weaving fabrics for those interested in producing or designing contemporary fashion apparel to create a new alternative for contemporary fashion and fabric industry. The related ideas, theories, and studies are as follows: (1) knowledge of silk, history, manufacturing processes of Royal Peacock silk; (2) knowledge of fibers, types of fibers, properties of fibers; (3) contemporary fashion costume design by fashion trends of 2018 to 2019; (4) Perception theory and composition. The first research objective was found to be (1) producing processes, silk drawn by hand and the device to the container. Then, it was dyed with natural or non-chemical colors, and woven with traditional loom; (2) For materials, four types of silk used Lueb Silk, Noi Silk, Sao Loei Silk, Lang Silk; (3) In terms of properties, native Thai silk was stronger than hybrid silk. Farmers can grow it easily because of weather conditions. Most Thai silk’s woven by a hand loom, so the pattern on the fabric was so diverse and complex. The patterns made by weaving techniques made Thai silk unique and had a variety of weaving techniques; for example, Yok Dom fabric, Jok fabrik, Khit fabric, Puen fabric, Hang Krarok fabric, and Mudmee fabric; (4) In terms of colors, they were varied in the use of various colors, patterns, according to each tradition, culture, expertise, and the wisdom conveyed. There was a use of hot colors, cold colors and monochrome colors. More than two colors were used. The second research objective was to identify new Thai silk as a guideline for the design and development of woven fabrics. For contemporary fashion products. It was found that: 1) The original identity has a fabric thickness of three points with a moderate thickness of 53.3%. The shade of the fabric is three points with a moderate shade of 80%. The tightness of the fabric was one point with the least tightness of 46.7%. The reverse of the fabric was at two points with a slight reverse of 46.7%. The flexibility of fabric was at three points, with a moderate flexibility of 86.7%, and the knot on the cloth was also accounted for 100%; (2) contemporary fashion design requirements and fashion trends for 2018 and 2019 and the requirements for the study of Sonia Delaunay and the analysis of artwork were in line with the design requirements of fashion trends. It was an abstract concept that used the geometry primarily expressed in color, the contrast of lines, proportions, sizes, and the rhythms of pattern. The researcher presented a draft of woven fabric from ten new Thai silk identity specimens for selection by experts. The results of the selection were draft two, draft five, draft eight, and draft ten, from the four woven patterns. Then, bringing five patterns to design contemporary fashion clothes. Pattern three was then selected by experts.
งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์ดั้งเดิมผ้าไหมไทย อันประกอบด้วย กระบวนการผลิต วัสดุ คุณสมบัติและสี (2) เพื่อออกแบบและพัฒนาลายผ้าทอตามข้อกำหนดอัตลักษณ์ใหม่ผ้าไหมไทย สำหรับเครื่องแต่งกายแฟชั่นร่วมสมัย เพื่อเพื่อออกแบบและพัฒนาลายผ้าทอตามข้อกำหนดอัตลักษณ์ใหม่ผ้าไหมไทย สำหรับเครื่องแต่งกายแฟชั่นร่วมสมัย ที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน การศึกษานี้ยังเป็นแนวทางการออกแบบลายผ้าทอผ้าไหมไทย แก่ผู้สนใจที่จะผลิตหรือออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นร่วมสมัย เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอร่วมสมัย โดยมีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ความรู้เกี่ยวกับผ้าไหม ประวัติ กระบวนการผลิต ตรานกยูงพระราชทาน (2) ความรู้เกี่ยวกับเส้นใย ประเภทของเส้นใย สมบัติของเส้นใย (3) การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นร่วมสมัย แนวโน้มแฟชั่นปี 2018-2019 (4) ทฤษฎีการรับรู้ และการจัดองค์ประกอบศิลป์ ผลการวิจัยที่ตรงตามวัตถุประสงค์ 1 พบว่า (1) ด้านกระบวนการผลิต มีการสาวเส้นไหมด้วยมือผ่านพวงสาวลงภาชนะ ย้อมด้วยสีธรรมชาติหรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และทอด้วยกี่ทอมือแบบพื้นบ้านชนิดพุ่งกระสวยมือ (2) ด้านวัสดุ มีการใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน 4 ชนิด คือ เส้นไหมหลืบ เส้นไหมสาวเลย เส้นไหมน้อย เส้นไหมแลง (3) ด้านคุณสมบัติ ไหมพันธุ์ไทยพื้นเมืองมีความแข็งแรงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไหมพันธุ์ลูกผสม เกษตรกรเลี้ยงไหมได้ง่ายเพราะเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ ผ้าไหมไทยส่วนใหญ่ทอด้วยกี่ทอมือ ดังนั้นการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าจึงทำได้หลากหลาย และมีลวดลายที่ซับซ้อน ลวดลายที่เกิดจากเทคนิคการทอทำให้ผ้าไหมไทยมีความเป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลายของกรรมวิธีในการทอผ้า ได้แก่ ผ้ายกดอก ผ้าจก ผ้าขิด ผ้าพื้น ผ้าหางกระรอก และผ้ามัดหมี่ (4) ด้านสี การใช้สี มีความหลากหลายในการใช้สีพื้น และสีลายหลากหลายตามแต่ละขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความชำนาญ และภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมา มีการใช้สีวรรณะร้อน สีวรรณะเย็น และสีเอกรงค์ นิยมใช้สีมากกว่า 2 สีขึ้นไป ผลการวิจัยที่ตรงตามวัตถุประสงค์ 2 ผู้วิจัยได้ข้อกำหนดอัตลักษณ์ใหม่ผ้าไหมไทยเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบและพัฒนาลายผ้าทอ สำหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย ดังนี้ พบว่า (1) อัตลักษณ์ดั้งเดิมมีความหนาของผ้าอยู่ที่ 3 คะแนน มีความหนาปานกลางคิดเป็นจำนวน 53.3% ความเงาของผ้าอยู่ที่ 3 คะแนน มีความเงาปานกลางคิดเป็นจำนวน 80% ความแน่นของผ้าอยู่ที่ 1 คะแนน มีความแน่นน้อยที่สุดคิดเป็นจำนวน 46.7% ความคืนตัวของผ้าอยู่ที่ 2 คะแนน มีความคืนตัวน้อยคิดเป็นจำนวน 46.7% และความพลิ้วของผ้าอยู่ที่ 3 คะแนนมีความพลิ้วปานกลางคิดเป็นจำนวน 86.7% และมีปุ่มปมบนผืนผ้าคิดเป็น 100% (2) นำข้อกำหนดการออกแบบแฟชั่นร่วมสมัย แนวโน้มแฟชั่นปี 2018-2019 และข้อกำหนดจากการศึกษาและวิเคราะห์ลวดลายงานศิลปะของ Sonia Delaunay ที่มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดการออกแบบจากแนวโน้มแฟชั่น เป็นการนำแนวคิดแบบนามธรรม ซึ่งมีการใช้เรขาคณิตเป็นหลักโดยแสดงออกมาทางโทนสี การตัดกันของเส้น สัดส่วน ขนาดและจังหวะลายผ้าทอ ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบร่างลายผ้าทอจากข้อกำหนดอัตลักษณ์ใหม่ผ้าไหมไทย จำนวน 10 รูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาคัดเลือก ซึ่งผลการคัดเลือกปรากฏว่า แบบร่างที่ 2 แบบร่างที่ 5 แบบร่างที่ 8 และแบบร่างที่ 10 จากแบบร่างลายผ้าทอทั้ง 4 รูปแบบ ผู้วิจัยได้นำมาออกแบบเป็นแบบร่างเครื่องแต่งกายแฟชั่นร่วมสมัย จำนวน 5 รูปแบบ ซึ่งถูกคัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 1 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 3
Description: MASTER OF FINE ARTS (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/151
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs581130240.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.