Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1442
Title: COMPARATIVE STUDY OF BEHAVIORAL ADJUSTMENT FOR SUPPORTING CHANGES BETWEEN THE BABY BOOMER GENERATION AND GENERATION Y STAFF AT GOVERNMENT HOUSING BANK HEADQUARTERS 
การเปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ กลุ่มเจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์ และ เจเนอเรชั่น วาย
Authors: BUTSAYAMAS THEERAWUTTICHAIKIT
บุษยมาส ธีระวุฒิชัยกิจ
Tanapoom Ativetin
ธนภูมิ อติเวทิน
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: เจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์
เจเนอเรชั่น วาย
พฤติกรรมการปรับตัว
พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์
Baby Boomers
Generation Y
Adjustment behavior
Government Housing Bank employees
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to conduct a comparative study of adjustment behavior in response to the changes among employees of different generations at Government Housing Bank headquarters. The samples were 340 Baby Boomers and Generation Y employees at Government Housing Bank Head headquarters. The questionnaire was used as a research instrument for data collection. The samples of this study indicated that most respondents were females, with work experience between five to six years in the bank and worked in a position at the operational level. When the respondents were classified by different generations and it was found that Generation Y respondents were mostly female, with work experience between five to six years, and worked in an operational level position. On the other hand, most of the Baby Boomer respondents were female, with nine years of work experience, and worked as executives at the primary level.  The hypothesis testing results had a statistical significance level of 0.05 and found that Generation Y respondents with different genders, working age and positions had indifferent adjustment behaviors in response to changes. The Baby Boomer respondents of different genders had different adjustment behaviors in response to changes in terms of adapting to personal needs. In addition, internal factors with the highest influence on adjustment behavior in response to the changes of Generation Y employees was a shared value. The skill negatively influenced adjustment behavior while value positively influenced adjustment behavior in response to the changes among Baby Boomer employees. An internal factor with the highest influence on adjustment behavior in response to the changes of  Baby Boomer employees was shared value. An external factor with the highest influence on adjustment behavior in response to changes among Generation Y employees was technology. An external factor with the highest influence on adjustment behavior in response to the changes of Baby Boomer employees was technology. In conclusion, there were no differences in adjustment behavior between Generation Y and Baby Boomer employees.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ เปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ กลุ่มเจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์  และ เจเนอเรชั่น วาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่น วาย จำนวน 340 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ผู้สอบแบบสอบถามที่อยู่ในเจเนอเรชั่น วาย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุที่ปฏิบัติงานในธนาคารระหว่าง 5-6 ปี อยู่ในตำแหน่งระดับปฏิบัติงาน ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในเจเนเรชั่น  เบบี้บูมเมอร์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุที่ปฏิบัติงานในธนาคาร 9 ปีขึ้นไป อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า พนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่มีเพศ อายุในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกัน พนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์ ที่มีเพศ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน ในด้านการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ด้านค่านิยมร่วมมีผลต่อพฤติกรรมการการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย สูงสุด ปัจจัยภายในด้านค่านิยมร่วม มีผลต่อพฤติกรรมการการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ สูงสุด ปัจจัยภายนอกด้านเทคโนโลยีมีผลต่อพฤติกรรมการการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย สูงสุด ปัจจัยภายนอกด้านเทคโนโลยี มีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์ สูงสุด และพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และ เจเนอเรชั่น เบบี้บูมเมอร์ มีพฤติกรรมการปรับตัวไม่แตกต่างกัน
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1442
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130370.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.