Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1441
Title: MOTIVATION AND SOCIAL NETWORK USAGE EFFECT RELATING TO SOCIAL NETWORK USAGE BEHAVIOR OF SENIOR CITIZEN IN BANGKOK METROPOLITAN AREA
แรงจูงใจและผลที่ได้รับจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: JANJIRA WONGSAMAN
จันจิรา วงษ์สมาน
Nak Gulid
ณักษ์ กุลิสร์
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: ผู้สูงอายุ
เครือข่ายสังคมออนไลน์
แรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
กรุงเทพมหานคร
Senior citizens
Social networks
Motivation
Social network usage behavior
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to study the motivation and social network usage effects related to the social network usage behavior of senior citizens in the Bangkok metropolitan area. The sample of this research was 400 senior citizens living in the five districts in Bangkok with the highest population of the senior citizens: the Bang Khae, Chatuchak, Bang Khen, Bang Sue and the Sai Mai district, aged 60 and over. The questionnaires were used as the research instrument for data collection. The results of the study were as follows: the majority of the senior citizens were male, married or living together, graduated with a Bachelor's degree or equivalent, and an average monthly income of 20,001-30,000 Baht. Senior citizens of a different gender and average monthly income had a statistically significant difference in social network usage behavior in terms of the number of social networking services at a level of 0.05. The motivation for social network usage was significantly related to the behavior of the senior citizens in a positive direction with a statistical significance of 0.01 in terms of number of social networking services, such as information seeking, personal identity creation, leisure time, social interaction, and communication. The motivation for social network usage was significantly related to the behavior of the senior citizens in the positive direction with a statistical significance level of 0.01. They used social networking services, including communication, leisure, and social interaction and positively statistically significant at a very low level of 0.05, i.e., personal identity creation. The results obtained from online social network usage were significantly related to the behavior of the senior citizens in a positive direction, at a low and moderate level and a statistical significance level of 0.01, in terms of the social networking service usage and communication, self-expression, time, social, entertainment, and business, and in a positive direction at a low level with a statistical significance level of 0.01 in terms of length of time spent on social networking services, such as communication, personal identity creation, time, social, entertainment, and business.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา แรงจูงใจและผลที่ได้รับจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 เขตพื้นที่ มีประชากรผู้สูงอายุอาศัยอยู่สูงสุด คือ เขตบางแค เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตบางซื่อ และเขตสายไหม ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ผู้สูงอายุที่มีเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ แตกต่างกัน ในด้านจำนวนที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ และปานกลาง ในด้านจำนวนที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์  ได้แก่ ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการสร้างตัวตน ด้านการใช้เวลาว่าง ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคม และด้านการติดต่อสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ และต่ำมาก ในด้านระยะเวลาที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์  ได้แก่ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการใช้เวลาว่าง และด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำมาก ได้แก่ ด้านการสร้างตัวตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลที่ได้รับจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ และปานกลาง ในด้านจำนวนที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการแสดงออกถึงตัวตน ด้านเวลา ด้านสังคม ด้านความบันเทิง และด้านธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ ในด้านระยะเวลาที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการแสดงออกถึงตัวตน ด้านเวลา ด้านสังคม ด้านความบันเทิง และด้านธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1441
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130365.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.